ผลของการใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจนิทานพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277108คำสำคัญ:
เทคนิคการจัดงานกราฟิก; , ความสามารถในการอ่านนิทานพื้นบ้านเพื่อความเข้าใจ; , นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: เนื่องจากผู้วิจัยพบปัญหาในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านนิทานพื้นบ้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิคผังกราฟิก วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจนิทานพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบค่ามัธยฐานของความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจนิทานพื้นบ้านของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมาย (target population) คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 25 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสุภัทราพิทยาลัย (นามสมมติ) กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจนิทานพื้นบ้าน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก จำนวน 8 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล จำนวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวมทั้งสิ้น 8 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐานและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่านัยสำคัญของความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon test
ผลการศึกษา: นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกมีค่ามัธยฐานของคะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจนิทานพื้นบ้านสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผล: ผลการวิจัยพบว่าทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจสำหรับนิทานพื้นบ้านพัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการทดลอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแทรกแซงช่วยเพิ่มความเข้าใจของผู้เข้าร่วมและปฏิสัมพันธ์กับนิทานพื้นบ้านได้ดีเพียงใด สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินการตามมาตรการที่มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ และสร้างความเข้าใจในเรื่องเล่าทางวัฒนธรรมให้มากขึ้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศึกราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
กำธน สินธวานนท์. (2545) สารานุกรมไทย : เล่มที่ 26 โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดย พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : สำนักงานกลาง
กิตติชัย ฟินโน และอมรชัย คหกิจโกศล. (2558). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาตะวันออกคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้มที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิยาลัยศรีนครินทรวิโรม ประสานมิตร.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. (2548). อ่านเป็น เรียนก่อน สอนเก่ง. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์.
วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ จำกัด.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนิท ตั้งทวี. (2528). ความรู้และทักษะทางภาษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สิปปกร บุนนาค. (2564). การพัฒนาความสมารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สุมนา ระบอบ. (2556) การสอนสังคมศึกษาโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer). Retrieved on February 2, 2024 from: http://etcserv.pnru.ac.th/datas/file/KM09/pchezwfoli.pdf
สุมาลี บุญชู. (2560). ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุสาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2553). ภาษาพาสอน : เรื่องน่ารู้สำหรับครูภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education. 8th edition. London: Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315456539
Dallmann, M., & Bore , J.J. (1978). The teaching of reading. New York: Holt.
Jones, B., Pierce, J., & Hunter, B. (1989). Teaching children to construct graphic representations. Educational Leadership, 46, 20-25.
Salkind, N.J. (2017). Statistics for people who (think about) hate Statistics. 6th ed. London: SAGE
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ