รูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276973

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้ภาษามือ, ภาษามือ, การเรียนรู้ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ที่ชาญฉลาด

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เข้ามาช่วยในการเรียนรู้และสื่อสารด้านนี้ ดังนั้น งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์จึงเป็นที่สนใจมากในหลายๆ ด้านซึ่งงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์ 2) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในวิเคราะห์และออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาด จำนวน 9 ท่าน และ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์ จำนวน 9 ท่าน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างและ แบบประเมินรูปแบบการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติหาคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงของข้อคำถาม และค่าความเชื่อมั่น

ผลการวิจัย: (1) รูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์ มีองค์ประกอบ 6 ด้านดังนี้ หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการสอนทักษะการเรียนรู้ภาษามือ ด้านการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาด ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ด้านกิจการการเรียนภาษามือแบบรอบรู้และด้านการวัดและประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้ ฯ และ (2) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละด้านพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย ความเป็นไปได้ของรูปแบบการเรียนรู้ ด้านความถูกต้องของรูปแบบการเรียนรู้ ด้านความเหมาะสมในการจัดการเรียนของรูปแบบ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้

สรุป: ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการของรูปแบบการเรียนรู้ภาษามือออนไลน์อัจฉริยะสอดคล้องกับแนวคิดทางการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 จากการประเมินพบว่ารูปแบบเหล่านี้มีความแม่นยำ เหมาะสม ใช้งานได้จริง และใช้งานได้จริงสำหรับการจัดการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

References

เกษมศรี ภัทรภูริสกุล. (2544). การศึกษาผลสัมฤทรธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียน และความสนใจในการเรียนวิขาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยทฤษฎีสรรคนิยม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประกอบ กรณีกิจ. (2550) การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การประเมินตนเอง เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลี จุฑา. (2544). การประยกตจิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : อกษราพิพัฒน์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. สำนักพิมพ์มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2564). การเรียนรู้ปรับได้ Adaptive Learning. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีระยุทธ สุภารส. (2556). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์กระบวนวิชาภาษามือเบื้องต้น สำหรับนักศึกษา. ระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อารี รังสินันท์. (2527). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ธนกิจการพิมพ์.

Akhmedova, A.R., Koda, E.A., Dylkina, T.V., & Fomenko, A.P. (2022). Social Employment Practices of People with Hearing Impairment (Based on the Materials of a Sociological Study in Barnaul). Sociodynamics, 10, 31-45. https://doi.org/10.25136/2409-7144.2022.10.39118

Anderson, T. (Ed.). (2008). The theory and practice of online learning. Athabasca university press.

Bates, A.W. (2015). Teaching in a digital age: Guidelines for designing teaching and learning. BCcampus.

Bhatt, G.D. (2001). Knowledge management in organizations: examining the interaction Between technologies, techniques, and people. Journal of Knowledge Management, 5 (1), 68-75.

Black, P., & Wiliam, D. (1998). Assessment and classroom learning. Assessment in Education: principles, policy & practice, 5(1), 7-74.

Bruner, J.S. (1963). The process of education. New York : Vintage Books.

Carolina, T.B., Aharonson-Daniel, L., & Feder-Bubis, P. (2023). Resources Used by People with Hearing Disabilities to Cope with Emergency Situations. Prehospital and Disaster Medicine. 38. s113-s113. Doi: 10.1017/S1049023X23003059.

Emmorey, K. (2023). Ten Things You Should Know About Sign Languages. Current Directions in Psychological Science, 32(5), 387-394. https://doi.org/10.1177/09637214231173071.

Intarapoo, A., & Wannapiroon, P. (2023). Intelligent Digital Learning Environment for Enhancing Teaching Professional Experience. Technical Education Journal KMUTNB. 12 (1), 193-204.

Koehler, M.J., & Mishra, P. (2009). What Is Technological Pedagogical Content Knowledge? Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 9, 60-70.

Levasseur, M. (2023). Influence of Hearing Loss on Social Participation in Older Adults: Results from a Scoping Review. Research on Aging, doi: 10.1177/01640275231174561

Lientjie Janse Van Rensburg-Welling, Mitchell, J., & Goosen, W. (2022). Sensitizing Prospective Workplaces on the Needs of Students with Hearing Impairments. Global Journal of Social Sciences Studies, Online Science Publishing, 8(2), 35-47. DOI: 10.55284/gjss.v8i2.714

Luckin, R., Holmes, W., Griffiths, M., & Forcier, L. B. (2016). Intelligence Unleashed: An Argument for AI in Education. Pearson. https://static.googleusercontent.com/media/edu.google.com/en//pdfs/Intelligence-Unleashed-Publication.pdf

Mandala System. (2023). Artificial intelligence (AI). Retrieved April 22, 2024, from: https://www.mandalasystem.com/blog/th/297/What-is-artificial-intelligence-AIBabita

Mayer, R. E. (2019). Computer games in education. Annual Review of Psychology, 70, 531–549. https://doi.org/10.1146/annurev-psych-010418-102744

Moore, M. and Kearsley, G. (2012) Distance Education: A Systems View of Online Learning. 3rd Edition, Wadsworth, Belmont.

Papatsimouli, M., Sarigiannidis, P., & Fragulis, G. (2023). A Survey of Advancements in Real-Time Sign Language Translators: Integration with IoT Technology. Technologies. 11 (4), 83. Doi: 10.3390/technologies11040083.

Payauncharoen, P. (2021). SiGn language เรียนรู้ผ่านภาษามือ. insKru. Retrieved from: https://inskru.com/idea/-MraJozQ2yOmXUxt6bL8

Quinto-Pozos, D., Singleton, J., Hauser, P., Levine, S., Garberoglio, C., & Hou, L. (2013). Atypical signed language development: A case study of challenges with visual-spatial processing. Cognitive neuropsychology. 30, 332-359. 10.1080/02643294.2013.863756.

Stewart, D.A., & Kluwin, T. N. (2001). Teaching deaf and hard of hearing students: Content, strategies, and curriculum. Allyn and Bacon.

Trilling, B., & Fadel, C. (2012). 21st-century skills: Learning for life in our times. John Wiley & Sons.

Vygotsky, L.S., & Cole, M. (1978). Mind in society: Development of higher psychological processes. Harvard University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06

How to Cite

ดาแร่ ไ. ., ตีเมืองซ้าย ส. ., & สองสนิท ท. . (2024). รูปแบบการเรียนรู้ภาษามือที่ชาญฉลาดออนไลน์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(6), 467–480. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276973