การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276892คำสำคัญ:
ศิลปะสร้างสรรค์, วัสดุธรรมชาติ, กล้ามเนื้อมัดเล็ก, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ เป็นช่วงของชีวิตมนุษย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการได้บ่งไว้ว่าเป็นระยะที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาการ ซึ่งการพัฒนาแบบเป็นองค์รวมจะอยู่บนพื้นฐานของการเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน โดยจะเน้นให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา ในส่วนของการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและประสานความสัมพันธ์ เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆของเด็ก การวิจัยนี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยทั้งชาย-หญิง ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนอุดรวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะจากวัสดุธรรมชาติและแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ มัดเล็กที่จะพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กปฐมวัยได้มีการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
ผลการวิจัย (1) ผลการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุจากธรรมชาติก่อนการทดลองเท่ากับ คิดเป็นร้อยละ 65.03 และหลังการทดลองเท่ากับ คิดเป็นร้อยละ 96.88 โดยคะแนนหลังการทดลองมีคะแนนสูงว่าก่อนทดลองอย่างมีประสิทธิภาพ และ (2) การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุจากธรรมชาติผลคะแนนของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทุกด้านโดยมีเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ด้านความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
สรุปผล: การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 31.85% เมื่อเด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในโครงการศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งบ่งชี้ถึงการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญหลังการทดลอง นอกจากนี้ การนำวัสดุออร์แกนิกมาใช้ในการออกแบบงานศิลปะยังช่วยปรับปรุงการประสานงานของมือและตา ความคล่องตัว และการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความสามารถที่สำคัญเหล่านี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 3–5 ขวบ. กรุงเทพฯ : โชติสุขการพิมพ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็ก อายุ 3-6 ปี.กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบสบุ๊ค.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองคความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
เบญจา แสงมะลิ. (2550). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.
โรงเรียนอุดรวิทยา. (2565). การศึกษาพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนอุดรวิทยา. สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.
วรวรรณ เหมชะญาติ. (2536). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของกาเย่ ที่มีต่อความสามารถในการรับรู้ทางด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กก่อนวัยเรียน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 2552 – 2561.กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่ : เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุพัชราภรณ์ ดาราวลี. (2552). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Gesell, A. (1940). The First Five Years of Life: A Guide to the Study of the Preschool Child. New York: Harper.
Landers, C. (2002). Milestones in early childhood development. New York, NY: UNICEF.
Mcafee, O., & Leong, D. (2004). Assessing and Guiding Young Children’s Development and Learning. Toronto: Allyn and Bacon.
Piaget, Inhelder and" Minecraft". International Association for Development of the Information Society, 2013.
Schifter, C.C., Cipollone, M., & Moffat, F. (2013). PIAGET, INHELDER AND MINECRAFT. IADIS International Conference on Cognition and Exploratory Learning in Digital Age (CELDA 2013)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ