การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276862คำสำคัญ:
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง; , การบริหารสถานศึกษา; , แนวทางบริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนาประชาชนและประเทศชาติในทุกด้าน กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาทุกสถานศึกษาให้สามารถดำเนินการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เพื่อให้สถานศึกษาสามารถเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) การศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ (2) การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ และ (3) การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 และค่าความสอดคล้อง (IOC) อยู่ในช่วง 0.8 ถึง 1.00 สำหรับสถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ T-test, F-test และ Scheffe’s Method
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การบริหารสถานศึกษาในทุกด้านโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ (2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านงบประมาณ พบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 2) การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกัน 3) การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการบริหารน้อยกว่า 3 ปี, 3 – 5 ปี, และมากกว่า 5 ปี มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) แนวทางในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิ แบ่งออกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป, ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหารงานวิชาการ
สรุปผล: ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนตระหนักถึงความสำคัญของการการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชัยภูมิมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ทุกภาคส่วน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานการศึกษา การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามบริบทของแต่ละสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้เกิดการส่งเสริมพัฒนานักเรียนเกิดผลดีเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่น ชุมชน และสังคม แสดงถึงศักยภาพของสถานศึกษาในด้านการบริหารสถานศึกษา
References
กาญจนา วิเชียรศรี, กฤตยากร ลดาวัลย์ และ วิมลพร สุวรรณแสนทวี. (2563). การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 4(2), 21-32.
จรรยา ทีปาลา. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบ้านไร่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 45-60.
ณัฐวุฒิ สัพโส. (2564). การบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(2), 43-58.
ธงชัย ดีมูลพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในสหวิทยศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธิดา เสมอใจ. (2562). กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. งานวิจัย กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนท่าวังผาวิทยาคม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้. (2566). ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ยกระดับ กศน.เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้. Retrieved from: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140A020N0000000006000.pdf.
พิชามญฐ์ แซ่จัน และสุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2561). การบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ สถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(2), 43-58.
ศักดิ์ดา จันลี และอุรสา พรหมทา. (2563). แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(2), 57-66.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). คู่มือการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565). กองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). แนวทางการดำเนินการจัดการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ.
สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง และสงวน อินทร์รักษ์. (2562). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 934-944.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row. pp. 202-204.
Krejcie, Robert V., & Morgan, Daryle W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Management, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ