การพัฒนาการจัดการงานด้านเวชสถิติของโรงพยาบาลระดับจังหวัด สังกัดกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276834คำสำคัญ:
การจัดการ; , เวชสถิติ; , กระทรวงสาธารณสุขบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การดำเนินงานด้านเวชสถิติในทางการแพทย์มีความสำคัญอย่างมากในระดับโลก ซึ่งมีการดำเนินการโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้ได้สถิติการเจ็บป่วยและการเป็นโรคต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ครบถ้วน(1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน (2) เพื่อศึกษาแนวการพัฒนาการจัดการงานด้านเวชสถิติในโรงพยาบาลระดับจังหวัด สังกัดกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเป็นแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ เวชสถิติ จำนวน 249 คน และ หัวหน้าเวชระเบียน หรือหัวหน้างานเวชระเบียน และกลุ่มตัวอย่างจากการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเวชสถิติ ที่มีอายยุงานไม่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 10 คน โดยใช้เครื่องมือ การวิจัย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์พหุเพื่อเปรียบเทียบรายคู่
ผลการวิจัย: 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุไม่เกิน 30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งงานในปัจจุบัน เจ้าพนักงานเวชสถิติ การปฏิบัติงานใดเป็นส่วนงานที่ได้รับมอบหมายของ เวชระเบียน คือ เจ้าหน้าที่ให้รหัสโรคโดยเฉพาะ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบัน คือ 1 – 5 ปี 2) เจ้าหน้าที่เวชสถิติ มีระดับปัญหาเกี่ยวกับงานเวชสถิติ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก 3) เจ้าหน้าที่เวชสถิติ มีระดับความต้องการเกี่ยวกับงานด้านเวชสถิติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
สรุปผล: ปัญหาเกี่ยวกับงานด้านเวชสถิติมากที่สุด คือ ปัญหาการจัดทำข้อมูลและการจัดทำรายงานสถิติ ในส่วนของความต้องการมากที่สุด คือ ต้องการการสรุปของแพทย์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ พบว่า ควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและในส่วนบุคลากรที่เพิ่งเข้ามาปฏิบัติงานใหม่ควรมีพี่เลี้ยง เพื่อลดการให้รหัสผิดพลาด ควรมีการประชุมทีมเพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่จะต้องนำไปแก้ไข ควรมีการอบรมแพทย์ที่เข้ามาใหม่ให้ทราบแนวทางในการทำงาน และเขียนแฟ้มประวัติได้ครบถ้วน และในส่วนของกลุ่มสหวิชาชีพในโรงพยาบาลควรจัดฝึกอบรม เพื่อสร้างความเข้าใจงานด้านเวชสถิติและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนางานกันได้
References
นพดล พิทักเขต. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจาก องค์การกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การศึกษาอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พีระ ดีเลิศ (2555). การพัฒนาสมรรถนะของเจ้าพนักงานเวชสถิติ โรงพยาบาลบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
วันเพ็ญ เวชกามา. (2556) การใช้สารสนเทศของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
แสงเทียน อยู่เถา. (2555). ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานเวชระเบียนและวิชาชีพเวชระเบียนในประเทศไทย.เอกสารประชุมวิชาการคณะสังคมศาสตร์ประจำปี 2554. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
แสงเทียน อยู่เถา. (2559). เวชระเบียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด
แสงเทียน อยู่เถา. (2560). การบริหารงานเวชระเบียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แสงเทียน อยู่เถา. (2560). เวชสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬากรณ์มหาวิทยาลัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ