ภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรี
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276820คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ;, ผู้นำเทคโนโลยี; , สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรีบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ในปัจจุบัน เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ในกระบวนการบริหาร การส่งเสริม และการสนับสนุนบุคลากรในสังกัด จะช่วยเพิ่มประโยชน์และประสิทธิภาพการทำงานอย่างมากในยุคปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องพัฒนา ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาที่มีอยู่ให้ทันสมัย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้: (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรี (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรี โดยจำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรี
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรี จำนวน 127 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่ใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับอยู่ที่ 0.96 นอกจากนี้ยังมีการใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเสริม ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติที่หลากหลาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า: (1) ภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมและในแต่ละด้านอยู่ในระดับ "มาก" (2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเทคโนโลยี ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรี จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่าโดยภาพรวมและในแต่ละด้านไม่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ในด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเทคโนโลยี ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 5 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์เทคโนโลยี 2) การสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี 3) จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี 4) การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน 5) การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล
สรุปผล: ภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ควรเน้นการบริหารจัดการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
References
กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร.
ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์.
รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.
วรรณนภา จำเนียรพืช. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยขีองผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะครูในศตวรรษที่21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร.
อภิญญา พลอาสา. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(1), 36-47.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ