ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารและความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา เลิศล้ำ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, https://orcid.org/0009-0001-7159-8906
  • นิษรา พรสุริวงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://orcid.org/0009-0008-8167-6147
  • อมรรัตน์ ประวัติรุ่งเรื่อง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ https://orcid.org/0009-0006-7637-2355

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276400

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร; , ความเป็นองค์กรดิจิทัล

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ความเป็นดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนการใช้ชีวิตของคนทุกคน ทำให้ประชาชนต้องการรับบริการ โดยใช้เทคโนโลยี ซึ่งส่งผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปสู่ความเป็นองค์กรดิจิทัล โดยการปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นองค์กรดิจิทัลนั้น คือ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการทำงาน และเปลี่ยนวิธีการให้บริการประชาชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 (2) ศึกษาระดับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ครู ในสถานศึกษา ในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 135 คน ใช้สูตรของ Taro Yamane (1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน (E) ±5% และได้ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย: (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. ความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง( rXY = .656) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการส่งเสริมองค์กรนวัตกรรมและเทคโนโลยี (rX6Y = .669) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ( rX2Y= .612) ด้านการบริหารความเสี่ยงและกล้าเปลี่ยนแปลง (rX5Y= . 578) ด้านความมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง (rX1Y = .568) ด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม (rX4Y = .533) ด้านการเป็นผู้นำทีมและการมีส่วนร่วม (rX3Y = .503) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปผล: การศึกษายืนยันความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการบูรณาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยแสดงความสัมพันธ์เชิงบวกที่มีนัยสำคัญระหว่างความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนและองค์กรดิจิทัลของสถาบันการศึกษา

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561-2580. Retrieved from: https://onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-Government%20Gazette.PDF

จรินพงษ์ แดงจิ๋ว, อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจและ ส่งเสริม หอมกลิ่น (2565), ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของสำ นักงาน การตรวจเงินแผ่นดินสู่องค์กรดิจิทัล. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 35 (2),27-48.

จาตุรนต์ ชุติธรพงษ์. (2553). การจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพของมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว (2018). ก้าวกระโดดได้ด้วยนวัตกรรม หมวดหมู่: บทความสำหรับบุคคลทั่วไป. Retrieved from: https://www.ftpi.or.th/wp-content/uploads/2018/08/ก้าวกระโดดด้วยนวัตกรรม.pdf

ชัชรินทร์ ชวนวัน (2566). การจัดการศึกษาตามความสามารถในยุคดิจิทัล ตอนที่ 8 การจัดการศึกษาตามความสามารถ-จากแนวคิดสู่การดำเนินงานระดับภูมิภาค. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา

ชัยทวี เสนะวงศ์. (2563). คุณลักษณะของ “Digital Organization. Retrieved 18 January 2022, from https://www.khonatwork.com/post/-digital-organization.

ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ.( 2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา. 17(79),11-20.

ณัฐยา สินตระการผล. (2553). การสร้างนวัตกรรมให้เป็น Core competency. กรุงเทพฯ :เอ็กซเปอร์เน็ท.

ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี. (2562). Digital transformation and enterprise architecture. Retrieved on March 30, 2023, from: https://www.sit.kmutt.ac.th/wp-content/uploads/2019/09/001_DX_Part1_Intro_v1082_DT.pdf.

ถนอมวรรณ ช่างทอง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ในอำเภอท่าชนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวพล แก้วสุวรรณ ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง และสิริกร บำรุงกิจ. (2563). การจัดการความรู้เพื่อก้าวสู่องค์กรดิจิทัล ในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 40(4), 120-135.

เนตรนภา ศรีมหาโพธิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองในองค์กรดิจิทัล ของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. Journal of Educational Innovation and Research. 4(3), 330-344.

ปวีณา กันถิน มนต์นภัส มโนการณ์ และ ธารณ์ ทองงอก. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. Veridian E-Journal Silpakorn University. 10(3),1833-1848.

ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษาเชียงใหม่เขต 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาริฉัตร นวนทอและตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13, 1434-1449.

ปาริฉัตร พรสุวรรณ. (2562). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น อุบลราชธานี.

ปิยโชติ รอดหลง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผล ของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปิยนุช รักสัตย์. (2563). การเตรียมความพร้อมของบุคลากรกรมคุมประพฤติสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปุณณิฐฐา มาเชค. (2562). การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รุ่งรัตน์ พลชัย. (2563). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 1(3), 53-62.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีด สมรรถนะสูงของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริพร พงษ์เนตร (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สาธร ทรัพย์รวงทอง. (2566). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิทยวิชาการ, 6(3), 309-324.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Retrieved from: http://web.kalasin3.go.th/web/view.php?article_id=2109

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2561). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารการเปลี่ยนแปลง. Retrieved from: http:// www.cad.go.th

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: น่าน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาภรณ์ สีสุพรรณ์ และอจิรภาส์ เพียรขุนท (2565), วัฒนธรรมปรับตัวเพื่อไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7 (8), 246-264.

สุรินทร์ทิพย์ ศักดิ์ภูวดล. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุริยา สรวงศิริ และสิทธิชัย สอนสุภ (2564) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารปัญญาปณิธาน, (7)2,149-162.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์ (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

อัญชลี เหลืองศรีชัย (2564). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 170-186.

Davidovich, R., Nikolay, P., Laugerman, B., & Commodore, C. (2010). Beyond School Improvement: The Journey to Innovative Leadership. Thousand Oaks, CA: Corwin

Drucker, P.F. (1985). Innovation and entrepreneurship. New York: Harper and Row.

Higgins, J.M. (1995). Innovate or Evaporate: Test & Improve Your Organization’s IQ – Its Innovation Quotient. New York: New Management Publishing Company.

Hughes, T.P. (1987). The evolution of large technological systems. In The social construction of technological systems. New directions in the sociology and history of technology Cambridge, Massachusetts & London, England: MIT Press, 51-82.

Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and. Measurement. P.90-95. New York: Wiley & Son.

McKeown, M. (2008). The truth about innovation. London: Prentice-Hall.

Weiss, S.D., & Legand, P.C. (2011). Innovative intelligence. Ontario: John Wiley & Sons.

Wooi, T. (2013). Innovation leadership in education. Retrieved from: https://www.slideshare.net/timothywooi/innovation-leadership-in-education-29983666

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30

How to Cite

เลิศล้ำ ส. ., พรสุริวงษ์ น. ., & ประวัติรุ่งเรื่อง อ. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารและความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3: . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(4), 727–744. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276400