ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276386คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ; , ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ; , การบริหารงานวิชาการบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง และ4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง
ระเบียบวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพกลาง จำนวน 40 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวหน้างานวิชาการและครูในสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .988 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย : 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง โดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารวิชาการ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง .657 ถึง .728 และ4) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้และการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล ความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ และการสนับสนุน ส่งเสริมและบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการ
สรุปผล: มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณของตัวแปรเท่ากับ .690 ค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 47.60 ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากการพยากรณ์เท่ากับ .308 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ
Y = 1.105 + 0.414X2 + 0.313X3 + 0.249X1 + 0.139X4
Z= 0.412Z2 + 0.330Z3 + 0.270Z1 + 0.142Z4
References
จิตพวรรณ กระเชิญรัมย์. (2562). คุณลักษณะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
จีระศักดิ์ ชุมภู. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยพะเยา.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ (2555). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ญาณี วันแอเลาะห์ และอำนวย ทองโปร่ง. (2566). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 8(1), 332.
นิศาชล บำรุงภักดี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ปรเมศวร์ วรรณทองสุก. (2561). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำครูทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ประดิภา แก้วบุญมา. (2565). แนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอน ด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ห.จ.ก.มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
พยุงศรี เย็นเปี่ยม. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดยะลา. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานศึกษาการภาค 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
พุทธิพงษ์ ทองเขียว. (2562). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภัสภูมิ กิตติรัตนบุตร และจักรกฤษณ์ โพดาพล. (2566). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร สถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 6(4), 181-198.
ลักษณ์ประภา สุวรรณสมบัติ. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพสถานศึกษาตามแบบชีวิตวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วรพล เจริญวัย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรรณนภา จำเนียรพืช. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วสันต์ชัย สดคมขำ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีและเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีรวัฒน์ การุณวงษ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
ศริญาภัสร์ ชัชโชติสวัสดิ์ ทินกร ชอัมพงษ์ และเยาวเรศ ภักดีจิตร. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 157–170. https://doi.org/10.14456/jra.2022.116
ศรุตตา แววสุวรรรณ และ อุไร สุทธิแย้ม. (2564). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(4), 186-187.
ศักดา ทัดสา. (2564). กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศักรินทร์ เหมหงษา และโยธิน ศรีโสภา. (2565). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 13(2), 36-53.
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2566). รายงานสถิติการศึกษาของโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ร้านพจน์กล่องกระดาษ.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 - 2570. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกรุงเทพมหานคร. (2561). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th edition. New York: Harper Collins.
Daft, R. L. (1994). Management. 3rd edition. Fort Worth: The Dryden Press.
Davis, G.A., & Thomas, M.A. (1989). Effective Schools and Effective Teachers. Boston: Allyn and Bacon.
Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (1991). Educational administration, theory, research and practice. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-608.
McCauley, C., & Van V.E. (2004). Handbook of Leadership Development. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ