ความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276382คำสำคัญ:
ความคิดเห็น; , หลักธรรมาภิบาล; , กองพัฒนานิสิต;, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บทคัดย่อ
ประสิทธิผล หากนำมาปรับใช้และพัฒนางานของกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเกิดประโยชน์แก่บุคลากรและองค์กร โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล ตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจต่อหลักธรรมาภิบาลกับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการรับรู้หลักธรรมาภิบาล ผ่านสื่อต่าง ๆ กับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรกองพัฒนานิสิต จำนวน 127 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test One-Way ANOVA LSD และ Pearson Product Moment Correlation Coefficient โดยกำหนดระดับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน ของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา ของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกัน นอกจากนี้ความรู้ความเข้าใจต่อหลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล ของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในทิศทางตามกันน้อย (r =.36) และการรับรู้หลักธรรมาภิบาลผ่านสื่อต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาล ของบุคลากรกองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในทิศทางตามกันน้อย (r =.39)
สรุปผล: บุคลากรมีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลในภาพรวม อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ควรมีการจัดอบรมบุคลากรในประเด็นของ การเปิดโอกาสให้นิสิตเข้ามาแสดงความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจในการรับบริการ ผ่านช่องทางไลน์ เว็บไซต์ ให้มาก รวมถึงการปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานอย่างเท่าเทียมกัน เป็นธรรม สุจริต ยึดความ โปร่งใส จัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบเพื่อการตรวจสอบได้ง่าย ส่งผลให้การดำเนินงานต่าง ๆ ของ หน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
References
กองพัฒนานิสิต (2566). ข้อมูลโครงสร้างและอัตรากำลังบุคลากร กองพัฒนานิสิต ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566. กองพัฒนานิสิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดลพรรณ จันทร์ประเสริฐ. (2562). ความคิดเห็นต่อระบบจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ e-Budgeting) ของนักวิเคราะห์งบประมาณ สำนักงบประมาณ. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นงลักษณ์ ทวีรักษา. (2564). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสุมทรสงคราม. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4 (1), 1-12.
นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2565). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัชฎาทิพย์ อุปถัมภ์ประชา. (2558). ความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(1), 69-79.
ราชกิจจานุเบกษา. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 100 ก หน้า 2. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษา
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก หน้า 253. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษา
รุ่ง ศรีโพธิ์. (2541). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหารของโรงเรียนที่ได้และไม่ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศราวุฒิ ดาวกรงแก้ว และคณะ. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 147-159.
ศรีรัฐ โกวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.
สำนักงานอธิการบดี. (2563). คู่มือปฏิบัติงานกองกิจการนิสิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุภาภรณ์ สุขสง. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรพินท์ สพโชคชัย. (2541). สังคมเสถียรภาพและกลไกประชารัฐที่ดี (Good Governance). รายงานทีดีอาร์ไอ, 20, 3-10.
อานันท์ ปัญยารชุน. (2542). มุมมองนายอานันท์. กรุงเทพฯ: มติชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ