การบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ธัญพิสิษฐ์ ศรีสุข วิทยาลัยนครราชสีมา ประเทศไทย https://orcid.org/0009-0008-7555-7344
  • สุทธิศักดิ์ แก้วจินดา วิทยาลัยนครราชสีมา ประเทศไทย https://orcid.org/0009-0004-5501-7261

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276166

คำสำคัญ:

การบริหารงานกิจการนักเรียน; , ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยจำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยจำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 331 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า: (1) ระดับการบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมและในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก  (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา พบว่าโดยรวมและในแต่ละด้านไม่มีความแตกต่างกัน (3) แนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมกิจกรรมแนะแนวในสถานศึกษา 2) ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย กีฬา และนันทนาการ 3) ด้านการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด 4) ด้านการส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน 5) ด้านการส่งเสริมพัฒนาสภานักเรียนเพื่อสร้างความเข้มแข็งในองค์กรนักเรียนและเยาวชนในสถานศึกษา และ 6) ด้านการส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน

สรุปผล: จากผลการศึกษา พบว่าผู้บริหารโรงเรียนบึงกาฬมีผลงานดีในทุกด้านของการบริหารกิจการนักเรียน โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา หรือขนาดสถานศึกษา นอกจากนี้ ยังระบุกลยุทธ์สำคัญ 6 ประการในการปรับปรุงกิจการนักเรียน ได้แก่ การส่งเสริมการแนะแนว สุขภาพ และกิจกรรมนันทนาการ การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำผ่านกิจกรรมลูกเสือและประชาธิปไตย การเสริมสร้างสภานักเรียน และการปกป้องสิทธิเด็ก

References

คมสันติ์ สิงห์รักษ์. (2560). การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ณัฏฐ์ธฌานนท์ ข้ามสาม. (2564). แนวทางการบริหารกิจการนักเรียน เพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2. วิทยานิพนธ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ณัฐพล แสงงาม. (2564). สภาพปัญหาและประสิทธิผลการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐวุฒิ หว่านผล และ ศิริพงษ์ เศาภายน. (2564). การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(1), 113-127.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พุฒิพงศ์ แก้วบุตร. (2565). การบริหารงานกิจการนักเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วราภรณ์ บุญดอก. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์มหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรพัชร เกตุรัตน์. (2562). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการราชบุรี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อดิศักดิ์ ก่ำเชียงคำ. (2561). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน โรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อาทิตยา เวชกรณ์. (2559). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-19

How to Cite

ศรีสุข ธ. ., & แก้วจินดา ส. . (2024). การบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(5), 717–736. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276166