การศึกษาความชุกของการรังแกกันในเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • นุชนาถ โอฬารวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0000-2093-2524
  • จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0003-0117-0426
  • ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0002-4874-2607

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276121

คำสำคัญ:

การรังแกกัน; , ความชุก; , เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัญหาการรังแกกันสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้นตามอายุที่พบ เด็กปฐมวัยก็พบว่ามีการรังแกกันเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งการค้นพบข้อมูลว่าเด็กปฐมวัยสามารถรังแกกันได้ จะทำให้ผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานี้ต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการรังแกกันในเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง

ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นแบบกรณีศึกษาในโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง เก็บข้อมูลกับนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง 3 จำนวน 547 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง โดยครูประจำชั้นแต่ละห้องเป็นผู้สังเกตและประเมินพฤติกรรมของนักเรียน และวิเคราะห์ผลการสังเกตพฤติกรรมโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ผล

ผลการศึกษา: เด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทองส่วนใหญ่ไม่พบพฤติกรรมการรังแกกันทั้ง 3 รูปแบบ ดังนี้ (1) การรังแกกันทางกายใน 10 พฤติกรรมย่อย คิดเป็นร้อยละ 68.20 ถึง 94.50 ของนักเรียนทั้งหมด (2) การรังแกกันทางวาจาใน 8 พฤติกรรมย่อย คิดเป็นร้อยละ 88.10 ถึง 95.60 ของนักเรียนทั้งหมด และ (3) การรังแกกันทางสังคมใน 4 พฤติกรรมย่อย คิดเป็น 88.80 ถึง 95.60 ของนักเรียนทั้งหมด

สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่ที่โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทองไม่ได้มีส่วนร่วมในพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง แต่มีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างมากที่มีส่วนร่วมในรูปแบบการกลั่นแกล้งทางร่างกาย วาจา และทางสังคม อัตราความชุกของพฤติกรรมย่อยเหล่านี้อยู่ระหว่าง 68.20% ถึง 95.60%

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559).นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ.2550-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

เกษตรชัย และหีม. (2554). พฤติกรรมการรังแกของนักเรียน. สงขลา: หน่วยโสตทัศนศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชิดชัย ไขไพรวัณ.(2560). พฤติกรรมการรังอกผู้อื่นของนักเรียนมัธยมปลาย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล

เฌณิกา บุณยธนวัฒน์. (2559). บทความวิจัย เรื่องละครโทรทัศน์ที่สะท้อนปัญหาการรังแกใน โรงเรียนประเทศญี่ปุ่นเรื่อง 35-sai no Koukousei. ปริญญานิพนธ์อักษรศาสตร์บัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี, สิรินัดดา ปัญญาภาส, & ฐิตวี แก้วพรสวรรค์. (2558). กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาการถูกรังแกของ เด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 60(4), 275- 286. https://psychiatry.or.th/JOURNAL/60-4/03%20Tidarat.pdf

ปวริศร์ กิจสุขจิต. (2559). ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดการรังแกกันในโรงเรียนมัธยมสตรี ใน กรุงเทพมหานคร ตามแนวทฤษฎีเรียนรู้ของโรนัลด์ แอล เอเคอร์. วารสารวิทยบริการ, 27(1), 72-80.

ปองกมล สุรัตน์. (2561). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในมิติสังคมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเยาวชนไทย เจเนอเรชั่น Z. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงษ์สุดา ป้องสีดา. (2564). ความชุกของการรังแกกันและปัจจัยด้านครอบครัวที่เกี่ยวข้องในนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษา จังหวัดน่าน. เชียงรายเวชสาร, 13 (2), 102-119.

โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง. (2563). หลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย (ฉบับปรับปรุง). อ่างทอง: โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง.

วิณี ชิดเชิดวงศ์. (2537). การศึกษาเด็ก. กรุงเทพฯ: บูรพาศาสน์.

ศิริชัย กาญจนวสี, ดิเรก ศรีสุโข, ทวีวัฒน์ ปิตยานนนท์. (2559). การเลือกสถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภรดา ชุมพาลี และทัศนา ทวีคูณ. (2562). พฤติกรรมรังแกกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33 (3),128-148.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชคนรินทร์. (2561). คู่มือปฏิบัติสำหรับการดำเนินการการป้องกันและจัดการปัญหาการรังแกกันในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง. (2564). รายงานการขับเคลื่อนปฐมวัยจังหวัดอ่างทอง. อ่างทอง: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง.

Buss, A. H. (1961). The psychology of aggression. John Wiley & Sons, Inc.

Kirves, L. & Sajaniemi N. (2012). Bullying in early educational settings. Early Child Development and Care. 182(3-4), 383 – 400. Retrieved November 30, 2022, from https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/03004430.2011.646724

Storey K. and Slaby R. (2013). Eye on Bullying in Early Childhood. USA: Education Development Center.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-08

How to Cite

โอฬารวัฒน์ น. ., มาสันเทียะ จ. ., & ทิพยกุลไพโรจน์ ด. . (2024). การศึกษาความชุกของการรังแกกันในเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 927–940. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276121

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ