การพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่นสำหรับนักศึกษาครู เพื่อส่งเสริมความสามารถอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • กัญฐิกา เกษานุช นักศึกษาปริญญาเอก สาขาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มการประถมศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร https://orcid.org/0009-0000-0968-1760
  • ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร https://orcid.org/0009-0008-6218-7997

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275968

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้ผ่านการเล่น, ความสามารถอ่านออกเขียนได้

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู ถือเป็นกระบวนการผลิตครูมืออาชีพ เพื่อเตรียมพร้อมในการส่งเสริมความสามารถอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้ผ่านการเล่น ที่เชื่อว่าการเล่นเป็นโอกาสในการส่งเสริมความคิดและสร้างแรงจูงใจในการเรียน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่การเล่นสามารถช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาของผู้เรียนได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้หลักสูตรที่สร้างและพัฒนาขึ้น และ 4) เพื่อประเมิน และรับรองหลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร และระยะที่ 4 การประเมินและรับรองหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะที่ 1 ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 ให้ข้อมูลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตร คือ นักศึกษาครู 20 คน และนักเรียน 50 คน และระยะที่ 4 ประเมินและรับรองหลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถ แบบสอบถาม แบบวัดการตระหนักรู้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: (1) สภาพปัจจุบันปัญหาด้านความสามารถอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก และความต้องการของนักศึกษาครูในการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่นสำหรับนักศึกษาครู พบว่า หลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่น มีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมาย 4) ระยะเวลาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร 5) โครงสร้างเนื้อหาและการฝึกปฏิบัติ 6) แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร7) สื่อการเรียนรู้ และ 8) แนวทางการวัดและประเมินผลตามหลักสูตร และโมดูลการเรียนรู้ 6 โมดูล ได้แก่ 1) ความสำคัญของสมรรถนะด้านการสอน 2) การศึกษาแนวทางการส่งเสริมความสามารถอ่านออกเขียนของนักเรียน 3) แนวทางและขั้นตอนการเรียนรู้ผ่านการเล่น 4) การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางและขั้นตอนการเรียนรู้ผ่านการเล่น 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินความสามารถอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ผลการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร พบว่า หลักสูตรมีความสอดคล้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่น พบว่า 1) คะแนนความรู้ฝึกอบรมของนักศึกษาครูสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) การตระหนักรู้ถึงความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่น ร้อยละ 90 ตระหนักถึงความสำคัญ ร้อยละ 90 ตระหนักถึงคุณค่า ร้อยละ 95 ตระหนักถึงประโยชน์ 5) นักศึกษาครูที่เข้ารับการอบรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยรวมทุกด้านมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 6) คะแนนประเมินความสามารถอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนสูงกว่าก่อนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ผลการประเมินหลักสูตร พบว่า การประเมินหลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่นสำหรับครู โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสภาพปัจจุบันปัญหาด้านความสามารถอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก และความต้องการของนักศึกษาครูในการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลักสูตรสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ และโมดูลการเรียนรู้ 6 โมดูล ที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมในระดับมากที่สุด นักศึกษาครูเข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความสามารถ ด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่น 80-100% และมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด การตระหนักรู้ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ 90-95 % และการประเมินหลักสูตร พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นภดล จันทร์เพ็ญ (2557). หลักการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: เจเนซิส มีเดียคอม.

ยูเนสโก (2012). Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Retrieved from: https://eaff.eu/en/unesco/ich

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน 2555. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สถาบันภาษาไทย. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สําลี รักสุทธี. (2553). การจัดทําสื่อนวัตกรรมและแผนประกอบสื่อนวัตกรรม. นนทบุรี: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. กรุงเทพฯ : สหายบล็อกและการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2559/ 2560. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). นิยามความสามารถของผู้เรียนด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล (Literacy, Nameracy & Reasoning Abilities).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Mellati, M., & Khademi, M. (2018). Exploring Teachers’ Assessment Literacy: Impact on Learners’ Writing, Achievement and Implications for Teacher Development. Australian Journal of Teacher Education, 43 (1), https://doi.org/10.14221/ajte.2018v43n6.1

Parker, R., and Thomsen, B. S. (2019). Learning through play at school: A study of playful integrated pedagogies that foster children’s holistic skills development in the primary school classroom. Billund: LEGO Foundation.

Pyle, A., & Danniels, E. (2017). A continuum of play-based learning: The role of the teacher in play-based pedagogy and the fear of hijacking play. Early Education and Development, 28(3), 274–289. https://doi.org/10.1080/10409289.2016.1220771

Tran, T. (2017). Intercultural communicative competence and Intercultural language teaching and learning. Seminar presentation, Mar, Cantho University, Cantho, Vietnam. Conference: Seminar, School of Foreign Languages, Cantho University, Vietnam, March 2017.

United Nations Children’s Fund (UNICEF) (2018). Learning through Play: Strengthening Learning through Play in Early Childhood Education Programmes. New York: UNICEF Education Section, Programme Division.

Veselack, E. Cain-Chang, L., & Miller, D.L. (2010). Young children develop foundational skills through child-initiated experiences in a Nature Explore Classroom: A single case study in La Cañada, California. Accessed online: http://dimensionsfoundation.org/findings.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-07

How to Cite

เกษานุช ก. ., & กิจรุ่งเรือง ป. (2024). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการเรียนรู้ผ่านการเล่นสำหรับนักศึกษาครู เพื่อส่งเสริมความสามารถอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(3), 653–668. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275968