การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรโมดูลการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่เพื่อเสริมสร้างอภิปัญญาและการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275868คำสำคัญ:
หลักสูตร; , โมดูล; , ศิลปะหลังสมัยใหม่; , อภิปัญญา; , การสร้างสรรค์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: อภิปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้นซึ่งสามารถพัฒนาได้ดีในวัยประถมศึกษา กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะสามารถเสริมสร้างอภิปัญญาได้ ผู้วิจัยจึงพัฒนาหลักสูตรโมดูลการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่เพื่อเสริมสร้างอภิปัญญาและการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และพัฒนาหลักสูตรโมดูลการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่เพื่อเสริมสร้างอภิปัญญาและการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา
ระเบียบวิธีการวิจัย: ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร 2) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากบุคคลด้วยการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 คน และครูสอนศิลปะ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และ 3) สอบถามความคิดเห็นและประเมินความสามารถด้านอภิปัญญาของนักเรียน จำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบประเมินความสามารถด้านอภิปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร และหาคุณภาพของหลักสูตรด้วยการสนทนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: 1) ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ศิลปะอยู่ในระดับมาก และ ระดับความสามารถด้านอภิปัญญาของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 2) หลักสูตรโมดูลการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่เพื่อเสริมสร้างอภิปัญญาและการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) จุดมุ่งหมาย 2) เนื้อหาสาระ 3) การจัดการเรียนรู้ 4) สื่อการเรียนรู้ และ 5) การประเมินผล และมีผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
สรุปผล: หลักสูตรโมดูลการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่เพื่อเสริมสร้างอภิปัญญาและการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) จุดมุ่งหมาย 2) เนื้อหาสาระ 3) การจัดการเรียนรู้ 4) สื่อการเรียนรู้ และ 5) การประเมิน โมดูลการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่เพื่อเสริมสร้างอภิปัญญาและการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) จุดประสงค์ 2) การทดสอบก่อนเรียน 3) กิจกรรมการเรียนรู้ 4) การทดสอบหลังเรียน และ 5) การประเมิน ศิลปะหลังสมัยใหม่ มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ 1) คุณค่าของศิลปะอยู่ที่ความคิด 2) คุณค่าของศิลปะอยู่ที่กระบวนการสร้างสรรค์ 3) เนื้อหาในผลงานศิลปะมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และ 4) งานศิลปะเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อภิปัญญา มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบแรก คือ ความรู้ในอภิปัญญา ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ความรู้ด้านคน 2) ความรู้ด้านงาน 3) ความรู้ด้านยุทธวิธี องค์ประกอบที่สอง คือ ประสบการณ์ในอภิปัญญา ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การจัดการข้อมูล 2) การวางแผน 3) การกำกับ และ 4) การประเมิน และการสร้างสรรค์มีกระบวนการ ดังนี้ ขั้นที่ 1 บันทึกสิ่งสนใจที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ขั้นที่ 2 รวบรวมความสัมพันธ์ของข้อมูล ขั้นที่ 3 ประมวลประสบการณ์และความคิดรวบยอด ขั้นที่ 4 วางแผนการสร้างสรรค์ และขั้นที่ 5 สร้างสรรค์
References
เกษร ธิตะจารี. (2530). ศิลปะชั้นนำ (Introduction to Art). กรุงเทพฯ: ภาควิชาศิลปศึกษา ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมกริบ ธีรานุรักษ์ และคณะ. (2555). การพัฒนามาตรวัดเมตาคอกนิชันแบบใช้กระดาษสอบและแบบใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์, 40(2), 75-91.
คมกริบ ธีรานุรักษ์. (2552). การพัฒนามาตรวัดเมตาคอคนิชั่นโดยใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จตุรัตน์ กีรติวุฒิพงศ์. (2558). สุนทรียภาพของทัศนธาตุทางทัศนศิลป์ : ความบันดาลใจจากโนรา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
จันทนี เจริญศรี. (2545). โพสต์โมเดิร์น กับ สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ = Composition of Art. 9th edition. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.
เดวิด คอตติงตัน. (2554). ศิลปะสมัยใหม่: ความรู้ฉบับพกพา = Modern Art: A Very Short Introduction. กรุงเทพฯ: openworlds.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรยุทธ บุญมี. (2550). โลก Modern & Post Modern. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
ประเทิน มหาขันธ์. (2531). ศิลปะในโรงเรียนประถม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. Journal of Education Studies, 45(2), 209-224.
ลักขณา สิริวัฒน์. (2558). การรู้คิด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสไตร์.
วิรัตน์ ปิ่นแก้ว. (2554). กระบวนทัศน์ศิลปศึกษาหลังสมัยใหม่ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก: มหาวิทยาลัยศรรีนครินทรวิโรฒ,
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2546). สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. 2nd edition. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2547). ศิลปะหลังสมัยใหม่: POSTMODERN ART. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.
วิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครูประถมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร,
วิสูตร โพธิ์เงิน. (2556). ศิลปะสำหรับเด็ก. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การวัดและประเมินความสามารถในการคิด. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเมนท์.
ศุภลักษณ์ สินธนา. (2545). การศึกษาการคิดอภิมานโดยใช้แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การทดสอบและวัดผลการศึกษา): มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต.
สังวรณ์ งัดกระโทก และคณะ. (2559). การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินเมตาคอกนิชันของนักเรียนระดับประถมศึกษและมัธยมศึกษา. สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สันติ คุณประเสริฐ. (2547). ศิลปศึกษา : จากทฤษฎีสู่การสร้างสรรค์ (ป. พิชญไพบูลย์ Ed.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธี คุณาวิชยานนท์. (2561). ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย : ตะวันตกและไทย. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือและตำราทฤษฎีศิลป์. คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โอชนา พูลทองดีวัฒนา. (2561). สุนทรียศาสตร์ตะวันตก. กรุงเทพฯ: คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Anderson, R.D.a.o. (1970). Developing Children’s Thinking through Science. New Jersey: Prentice-Hall.
Bitgood, S. (1992). The Anatomy of An Exhibit. Visitor Behavior, 6, 4-15.
Collingwood, R.G. (1938). The Principles of Art (1938). Oxford: Clarendon Press.
Costa, A.L. (1984). Mediating the Metacognitive. Educational Leadership, 42, 57-62.
Croce, B. (1921). The essence of aesthetic. London: W. Heinemann.
Dobbs, & Mark, S. (1988). Perceptions of Discipline-Based Art Education and the Getty Center for Education in the Arts. Los Angeles, Getty Center for the Arts.
Dobbs, S.M. (1992). The DBAE Handbook: An Overview of Discipline-Based Art Education. Los Angeles: Getty Center for Education in the Arts.
Flavell, J.H. (1979). Metacognition and Cognitive Monitoring: A New Area of Cognitive-Development Inquiry. American Psychologist, 34(10), 906-911.
Fountain (1917). Marcel Duchamp, Fountain, 1917, replica 1964. Retrieved from: https://www.tate.org.uk/art/artworks/duchamp-fountain-t07573
Garner, R., & Alexander, P. A. (1989). Metacognition: Answered and unanswered questions. Educational Psychologist, 24(2), 143–158. https://doi.org/10.1207/s15326985ep2402_2
Hunkins, F.P. (1980). Curriculum Development; Programme Improvement. Colombus: Merrill.
Papert, S. (1980). Mindstorms—Children, Computers and Powerful Ideas. New York: Basic Books, Inc.
Papert, S., & Harel, I. (1991). Situating constructionism. Constructionism. 36(2), 1-11.
Schraw, G., & Dennison, R.S. (1994). Metacognitive awareness inventory. Contemporary Educational Psychology, 19, 460-475.
Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World.
Torrance E.P., Torrance J.P. (1973). Is creativity teachable? Bloomington, Ind.: Phi Delta Kappa Educational Foundation.
Tyler, R.W. (2013). Basic principles of curriculum and instruction. University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ