การพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275804คำสำคัญ:
กิจกรรมทางคณิตศาสตร์; , การเรียนรู้ด้วยตนเอง; , การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การส่งเสริมเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นเป็นทั้งหลักการและเป้าหมายสำคัญของการศึกษาสำหรับพลเมืองโลกในอนาคต วงการการศึกษาได้แสวงหาแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ซึ่งเป็นมุมมองที่เชื่อกันว่าเป็นการศึกษาตลอดชีพ การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง การศึกษาการพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ควรศึกษา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาร่วมกับวิธีการแบบเปิด
ระเบียบวิธีการวิจัย: ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน จำนวน 6 แผนที่ต่อเนื่องกัน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักวิจัย จำนวน 3 คน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ 1 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 15 คน กิจกรรมพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกการร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกภาคสนามเพื่อบันทึกแนวคิดของนักเรียน 3) กล้องวีดิทัศน์บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน 4) กล้องภาพนิ่งเพื่อบันทึกผลงานนักเรียนและกระดานบันทึกการจัดการเรียนรู้ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยอาศัยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับการศึกษาตนเอง (Self-study) โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ของ Asami-Johansson
ผลการวิจัย: กลุ่มการศึกษาชั้นเรียนร่วมกันพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ (1) การพัฒนาเพื่อให้นักเรียนมีความมุ่งมั่น (Willingness) ที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดย 1) ออกแบบปัญหาที่ท้าทายสำหรับนักเรียน 2) ใช้ปัญหาที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของนักเรียน 3) วางลำดับการตั้งคำถาม 4) ออกแบบสื่อเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาด้วยตนเองของนักเรียน 5) จัดเตรียมสื่อเสริมเพื่อสนับสนุนการนำเสนอแนวคิดของนักเรียน (2) การพัฒนาเพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์อย่างมีเป้าหมาย (Purpose) โดย 1) ทีมการศึกษาชั้นเรียนต้องแก้ปัญหาในหนังสือเรียนญี่ปุ่น 2) วิเคราะห์ความยุ่งยากของปัญหา 3) คาดการณ์แนวคิดที่จะเกิดขึ้นในชั้นเรียน 4) วางลำดับของปัญหาที่นักเรียนจะได้เผชิญ 5) วิเคราะห์ประสบการณ์ของนักเรียน 6) ออกแบบสถานการณ์ปัญหาที่จะทำให้นักเรียนระบุปัญหาหรือเป้าหมายการแก้ปัญหาด้วยตนเอง 7) ออกแบบคำสั่ง 8) คาดการณ์แนวคิดและการตอบสนองต่อคำสั่ง 9) จัดเตรียมสื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา 10) นำแนวคิดที่คาดการณ์ไว้มาเรียงลำดับการนำเสนอ
สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทีมศึกษาบทเรียนจงใจสร้างงานทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนโดยการตั้งคำถามที่ยาก จับคู่คำถามกับความรู้เดิม จัดระเบียบคำถามตามลำดับตรรกะ และเสนอแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางคณิตศาสตร์โดยเจตนาผ่านการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ คาดการณ์ความคิดของนักเรียน และจัดระเบียบคำสั่งและการนำเสนอด้วยความระมัดระวัง
References
ประเวศ วะสี. (2543). หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา คือ การปฏิรูปการเรียนรู้, ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้น กระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาแนวทางการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดของนักเรียนเป็นฐาน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น:ขอนแก่น
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2562). (บรรยาย) การสอนทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษา: การออกแบบลำดับการสอน (Flow of Lesson). EDUCA 2018: The 13th Annual Congress for Teacher Professional Development.
Asami-Johansson, Y. (2021). The Didactic Notion of “Mathematical Activity” in Japanese Teachers’ Professional Scholarship: A Case Study of an Open Lesson. Journal of Research in Mathematics Education 10(1), 88-112.
Becker, J.P. & Shimada, S. (1997). The Open-Ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Reston, Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.
Darling-Hammond, L. & Bransford, J. (Eds.). (2005). Preparing Teachers for a Changing World: What Teachers Should Learn and Be Able to Do. San Francisco, CA, US: Jossey-Bass.
Fujii, T. (2014). Implementing Japanese Lesson Study in Foreign Countries: Misconceptions Revealed. Mathematics Teacher Education and Development, 16 (1), 1-18.
Hsieh, H. & Shannon, S.E. (2005). Three Approaches to Qualitative Content Analysis. Qualitative Health Research, 15(9),1277-1288.
Ikeda, T. (2010). “Roots of the Open-Ended Approach”. In M. Isoda and T. Nakamura (Eds.), Special Issue (EARCOME 5). Mathematics Education Theories for Lesson Study: Problem-Solving Approach and the Curriculum through Extension and Integration. (p.6). Tokyo: Bunshoudo Insatusho.
Inprasitha, M. (2022). Lesson Study and Open Approach Development in Thailand: A Longitudinal Study. International Journal for Lesson and Learning Studies 11(5), 1-15.
Inprasitha, M. (2003). Teaching by using an open approach in the mathematics classroom of Japan. KKU Journal of Mathematics Education, 1, 1-17.
Inprasitha, M. (2011). One feature of adaptive lesson study in Thailand: Designing learning units. Journal of Science and Mathematics Education, 34, 47-66.
Inprasitha, M. (2014). Processes of Problem Solving in School Mathematics. Khonkaen: Pen Printing
Inprasitha, M. (2015). Transforming Education through Lesson Study: Thailand’s Decade-Long Journey”. In M. Inprasitha, M. Isoda, P. Wang-Iverson, & B. H. Yeap (Eds.), Lesson Study: Challenges in Mathematics Education. pp. 213-228. Singapore: World Scientific.
Isoda, M. & Nakamura, T. (2010). The Theory of Problem Solving Approach. Special Issue (EARCOME 5) Mathematics Education Theories for Lesson Study: Problem-Solving Approach and the Curriculum through Extension and Integration. (p.1). Tokyo: Bunshoudo Insatusho.
Kilpatrick, J. (1992). A History of Research in Mathematics Education. In D. Grouws (Ed.), Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning (pp. 3-38). New York: Macmillan.
Makinae, N. (2010). The Origin of Lesson Study in Japan. The 5th East Asia Regional Conference on Mathematics Education: In Search of Excellence in Mathematics Education, 15, Tokyo.
Mangao, D.D., Ahmad, N.J. & Isoda, M. (2017). SEAMEO Basic Education Standards (SEA-BES): Common Core Regional Learning Standards (CCRLS) in Mathematics and Science. Penang, Malaysia: Publication Unit, SEAMEO RECSAM.
MEXT (Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology) (2008). Junior high school teaching guide for the Japanese Course of Study: Mathematics. (English version translated by CRICED). Retrieved on 10 February 2018 from: http://www.criced.tsukuba.ac.jp/math/apec/ICME12/Lesson_Study_set/Junior_high_school-teaching-guide-Mathmatics-EN.pdf.
Schoenfeld, A. (2007). Method. In F. K. Lester, Jr. (Ed.), Second Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning. pp. 69-107. Charlotte, NC: Information Age Publishing.
Schoenfeld, A. (2014). What Makes for Powerful Classrooms, and How Can We Support Teachers in Creating Them? A Story of Research and Practice, Productively Intertwined. Educational Researcher 43(8), 404-412.
Shimizu, Y. (1999). Aspects of Mathematics Teacher Education in Japan: Focusing on Teachers’ Roles. Journal of Mathematics Teacher Education, 2(1), 107–116.
Stigler, J. & Hiebert, J. (1999). The Teaching Gap. New York: The Free Press.
Suazo-Flores, E., Ward, J., Richardson, S. E., Grant, M., Cox, D., Kastberg, S. E. & Chapman, O. (2020). “Mathematics Teacher Educators Using Self-based Methodologies”. In A. I. Sacristán, J. C. Cortés-Zavala and P. M. Ruiz-Arias (Eds.), Proceedings of the 42nd Meeting of the North American Chapter of the International Group for the Psychology of Mathematics Education. pp. 181-184. Mazatlán, México.
Takahashi, A. (2021). Teaching Mathematics Through Problem-Solving: A Pedagogical Approach from Japan. New York: Routledge.
Tzekaki, M. (2014). Mathematical Activity in Early Childhood and the Role of Generalization. In book: Mathematics Education in the Early Years, Results from the POEM4 Conference, 2018 (pp.301-313). DOI:10.1007/978-3-030-34776-5_18
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ