ลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275753คำสำคัญ:
ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น; , การมองโลกในแง่บวก; , การยิ้ม; , ความช่วยเหลือ;, ความสามัคคี; , การมีสัมพันธ์ที่ดี; , การสื่อสารชัดเจนบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาใช้ในการทำงาน โดยประเมินคุณภาพความสามารถในการทำงานของในแต่ละบุคคลขั้นต้น และเป็นการประเมินพื้นฐานเพื่อนำไปสู่เงื่อนไขในการปรับปรุงและแก้ไขในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลกับปัจจัยที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงบรรยาย ( Descriptive Research ) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแล้วทำการวิเคราะห์ โดยมุ่งศึกษาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ผลการวิจัย: ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วย ด้านคิดแต่ทางบวก, ด้านยิ้มแย้มแจ่มใส, ด้านจริงใจให้กัน, ด้านสมานสามัคคี, ด้านมีสัมพันธ์ที่ดี, ด้านการสื่อสารชัดเจน ซึ่งผลการวิเคราะห์ได้แก่ (1) ผลของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน จะมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นแตกต่างกันแต่ไม่แตกต่างกันในทุกด้าน มีเพียงบางด้านเท่านั้นที่แตกต่างกัน คือด้านมีสัมพันธ์ที่ดี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นดังสมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) ผลของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล นักศึกษาที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน จะมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นดังสมมติฐานที่ตั้งไว้ (3) นักศึกษาธรรมศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยรวมในด้านสัมพันธ์ที่ดี ร้อยละ 76.44 โดยพบว่า ด้านมีสัมพันธ์ที่ดีมีคะแนนรวมสูงุสุด คิดเป็นร้อยละ 64.46 รองลงมาคือ ด้านสมานสามัคคี คิดเป็นร้อยละ 76.20 ด้านยิ้มแย้มแจ่มใส คิดเป็นร้อยละ 76.13 ด้านจริงใจให้กัน คิดเป็นร้อยละ 71.86 ด้านการสื่อสารชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 68.40 และ ด้านคิดแต่ทางบวกมีคะแนนรวมน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 64.46
สรุปผล: ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นต้องมีสัมพันธภาพในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น ความเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน, ความไว้เนื้อเชื่อใจกันในการทำงาน, การยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น, การมีส่วนร่วมในการทำงาน, การยอมรับความผิดพลาดของผู้อื่น, การทำความเข้าใจในการปฏิบัติของผู้อื่น กล่าวคือในด้านสัมพันธ์ที่ดี ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่มีในการทำงานรวมกับผู้อื่น ซึ่งในด้านนี้จะส่งผลที่ดีในการทำงานต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำงาน ส่วนด้านคิดแต่ทางบวก เพราะในด้านคิดแต่ทางบวกนั้นเป็นความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถถ่ายทอดให้เห็นได้ชัดเจนเหมือนดั่งในด้านอื่นๆ ดังนั้นด้านคิดแต่ทางบวกของแต่ละบุคคลล้วนแตกต่างกันไปตามลักษณะส่วนบุคคล
References
กรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม ภายในสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แก้วสุข เกษมสุข. (2557). สภาพการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ช่อฉัตร์ บุญเฉลิม. (2557). พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
นวรัตน์ วิทยาคม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักศึกษา โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ ในรายวิชาระบบปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ราชินทร์ ประสิทธิ์ (2559). P-S-Y-C-H-O หลักในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข. Retrieved 29 April 2023, from: http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=232
วรรณา อาจหาญ. (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิตมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ศิรินาถ ราชคำ. (2557). ความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นำ การแลกเปลี่ยนความรู้ การทำงานเป็นทีม กับผลการดำเนินงานของกลุ่ม OTOP กรณีศึกษากลุ่มสนุก (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
สัญลักษณ์ ธรรมสุวรรณ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ของการคิดบวก ความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สาวินีย์ ทวยจันทร์. (2558). การทำงานเป็นทีมของเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2561). การทำงานเป็นทีมให้ประสบผลสำเร็จ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้. Retrieved 29 April 2023, from: https:/www.up-2be.com/การทำงานเป็นทีม
อ้อมจันทร์ ภิรมย์ราช. (2557). แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Bandura, A. (2007). Albert Bandura. In G. Lindzey & W. M. Runyan (Eds.), A history of psychology in autobiography, Vol. 9, pp. 43–75). American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/11571-002
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ