การส่งเสริมพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยด้วยเกมกีฬา
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275700คำสำคัญ:
เกมกีฬา; , พฤติกรรมด้านสังคม;, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การที่เด็กต้องการเล่นกับเพื่อนและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต้องการอิสระที่จะเรียนรู้ประสบการณ์รอบตัว ต้องการได้รับกำลังใจ และคำชมจากผู้ใหญ่ เป็นการตอบสนองความต้องการทางสังคมของเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมกีฬา
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี จำนวน 15 คน โรงเรียนอนุบาล Huilong Yayuan เขต Longgang เซินเจิ้นมณฑลกวางตุ้ง โดยมีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sample) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์เกมกีฬา จำนวน 8 แผน ได้แก่ 1) พาน้ำกลับบ้าน 2) นกหารัง 3) ปิดตาตามหาสมบัติ 4) วิ่งกระสอบเก็บลูกบอล 5) มดไต่ขอน 6) เก้าอี้ดนตรี 7) พาไข่เดิน 8) วิ่งสามขาทรงพลัง แบบประเมินพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัย จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการแบ่งปัน ด้านการช่วยเหลือ และด้านความร่วมมือ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Pre - Experimental Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า
ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยหลังการเล่นเกมกีฬา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.46 ค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 2.09 สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมกีฬา ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.13 ค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 1.71 โดยมีร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 56.58
สรุปผล: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเล่นกีฬาส่งผลดีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กเล็กแสดงให้เห็นได้จากค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 11.13 เป็น 15.46 โดยมีเปอร์เซ็นต์ความก้าวหน้าที่ตรงกันที่ 56.58%
References
กรรณิการ์ สุริยะมาตร. (2560). การพัฒนากิจกรรมเสรีตามแนวคิดของไฮสโคป ในการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จริยา สันตานนท์. (2553). การพัฒนาสัมพันธภาพทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรม การวาดภาพต่อเติมจากภาพปะติดเป็นกลุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นุชรี บัวโค. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มณิฐา นิตยสุข. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมนําไปสู่กีฬาที่มีต่อสมรรถภาพ กลไกของนักเรียนประถมศึกษากลไกของนักเรียนประถมศึกษา. หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย ประมูลจักโก. (2561). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบใช้เกม สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. หลักสูตร ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมาลี บัวหลวง. (2557). ผลของการใช้เกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัรฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เอกศักดิ์ เฮงสุโข. (2559). ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. SDU Research Journal Science and Technology, 10(3), 129-142.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ