การศึกษาโครงการการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275658คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของนักศึกษา; , การพัฒนาชุมชน; , วิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: โครงการการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายในอำเภอเมืองนครราชสีมาเป็นส่วนของโครงการบริการวิชาการของวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมา โดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 2566 ซึ่งโครงการ ฯ อยู่ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 และโครงการการส่งเริมการพัฒนาชุมชนในอำเภอเมืองนครราชสีมามีเป้าหมายสำคัญคือการบริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่ชุมชนอย่างกว้างขวางและเป็นศูนย์กลางแห่งการแสวงหาความรู้วิชาการพระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมการส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนของนักศึกษากับชุมชนภายในอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมการส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนของนักศึกษากับชุมชนภายในอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) อธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมการส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนของนักศึกษากับชุมชนภายในอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากร คือ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 1 – 4 ภายในวิทยาลัยศาสนศาสตร์นครราชสีมาและหัวหน้าชุมชนที่เป็นชุมชนเป้าหมายในเขตอำเภอเมืองนครราชีมา รวมทั้งหมด 150 คน กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ภายในวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาและผู้นำชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 60 รูป/คน จากกลุ่มประชากรที่เป็นนักศึกษาภายในวิทยาลัยศาสศาสตร์ทั้งหมด 4 ชั้นปีการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: ผลของการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า 1 การมีส่วนร่วมของนักศึกษาวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาเพื่อส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนภายในวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาอยู่ในระดับมาก 2 ด้านการมีส่วนร่วมของนักศึกษาวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาเพื่อส่งเสริมในการพัฒนาชุมชนภายในวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ 3 ด้านความสัมพันธ์ที่เป็นปัจจัยต่อการมีส่วนร่วมของนักศึกษาวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมาในการพัฒนาชุมชนภายในวิทยาลัยสนศาสตร์นครราชสีมามีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ
สรุปผล: การศึกษาโครงการการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายในอำเภอเมืองนครราชสีมา คณะผู้วิจัยพบว่าผู้มีส่วนร่วมในโครงการ ฯ ได้มีส่วนร่วมอย่างมากในการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนในอำเภอเมืองนครราชีมา และอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ที่เข้าไปบริการวิชาการมีความพึงพอใจในโครงการ ส่วนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการต่างพากันมีความสุข และได้รับความคิดสร้างสรรค์มีจิตใจสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
References
ธวัช พุ่มดารา.(2560). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ,มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พระธวัชชัย สนติธมโม วรรณนาวิน. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขต เทศบาลเมืองสระแก้ว. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช พ.ศ.2560 (2560). Retrieved from: https://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=1038&filename=index
สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน4จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
อัครินทร์ อังกูรวงษ์วัฒนา. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนการมีส่วนร่วมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านบางเบา อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 3(2), 55-58.
Berkley, G.E. (1975). The Craft of Public Administration. Boston: Allyn and Bacon.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for International Studies. New York: Cornell University Press.
Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta G.: Georgia State University.
Huntington, S. & Nelson, S. (1975). No easy choice: political participation in developing countries. New York: Harvard University Press.
UN Bureau of Social Affairs. (1955). Social Progress Through Community Development. New York: The UN Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ