การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารระบบการจัดเก็บข้อมูลงานสารบรรณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275642คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น; , ระบบการจัดเก็บข้อมูลงานสารบรรณบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ได้แสดงถึงเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลงานสารบรรณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการศึกษา เรื่อง การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารระบบการจัดเก็บข้อมูลงานสารบรรณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารระบบการจัดเก็บข้อมูลงานสารบรรณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารระบบการจัดเก็บข้อมูลงานสารบรรณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร จำนวน 213 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าดัชนี PNImodified เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย: การบริหารระบบการจัดเก็บข้อมูลงานสารบรรณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 โดยรวมมีสภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และมีสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณารายด้านของสภาพปัจจุบันด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านการนำแผนไปปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านของสภาพที่พึงประสงค์ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากสูงสุด คือ ด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและด้านการนำแผนไปปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ สำหรับความต้องการจำเป็นของการบริหารระบบการจัดเก็บข้อมูลงานสารบรรณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ลำดับที่ 1 คือ ด้านการนำแผนไปปฏิบัติ (PNImodified = 0.120) รองลงมา คือ ด้านการวางแผน (PNImodified = 0.111) และ ด้านการประเมินผล (PNImodified = 0.108)
สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันระบบจัดเก็บเอกสารของสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางอยู่ในระดับสูง ทั้งสถานะที่ต้องการและสถานะปัจจุบัน บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งในด้านต่างๆ เช่น การวางแผน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการดำเนินการตามแผน นอกจากนี้ การศึกษายังเน้นย้ำถึงประเด็นต่างๆ ที่ควรได้รับความสนใจเป็นอันดับแรกสำหรับการปรับปรุง โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมุ่งเน้นที่การดำเนินการ การวางแผน และการประเมิน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการระบบจัดเก็บเอกสาร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2566. กรถงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
มนพ การกล้า. (2564). การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศออนไลน์เพื่อการบริหารงานโรงเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายศรีลันตา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สัตถามุติ รักสนิทสกุล. (2557). แนวทางการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุขของเด็กไร้สัญชาติ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566-2570). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. ประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติการรับ-ส่งหนังสือราชการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-saraban) ระหว่าง สพฐ.-สพท. (ออนไลน์). Retrieved on 18 September 2021. From: https://www.obec.go.th/archives/415660.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2566). สป.ศธ.ขับเคลื่อนระบบราชการดิจิทัล เตรียมเปิดระบบสำนักงานดิจิทัล “MOE Digital Office” 10 ก.ค.นี้ ลดการใช้กระดาษ เชื่อมโยงข้อมูลส่วนกลาง-ส่วนกลางในภูมิภาค. Retrieved on 19 August 2023 from: https://ops.moe.go.th/moe-digital-office/.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2564). รายงานประจำปี 2564 – สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน).
สิทธิชัย วรโชติกำจร และ พัชราภรณ์ วรโชติกำจร. (2563). พัฒนาระบบจัดเก็บและค้นคืนเอกสารงานสารบรรณ: (Developing of Storage and Retrieval of Document System). วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 137–145.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อริษา ทาทองและถนอม กองใจ. (2564). ระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้ระบบยืนยันตัวตน CMU OAuth. วารสารวิชาการ ปขมท., 10(2), 91-102.
Newby, T.J., Stepich, D.A., Lehman, J.D., & Russell, J.D. (2000). Educational Technology for Teaching and Learning. Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice-hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ