อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ เปรมอุปพงษ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0009-0001-3070-7280
  • ละมัย ร่มเย็น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-9969-8688
  • สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0002-6017-7321

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275592

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน; , ความสุขในการทำงาน; , ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อองค์การ องค์การจึงมีความพยายามที่จะจูงใจบุคลากรด้วยสวัสดิการต่าง ๆ ผู้บริหารขององค์การจึงต้องหามีวิธีการเพื่อให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การ (Commitment Management) และทำงานกับองค์การอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครพนม 2) อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครพนม

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 247 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย: (1) คุณภาพชีวิตการทำงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงานสามารถร่วมกันทำนายระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครพนม ได้ร้อยละ 73.20 (R2Adj=.732) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยองค์ประกอบย่อยของตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงาน พบว่า ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานของตัวพยากรณ์ สูงที่สุดได้แก่ ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน โอกาสก้าวหน้าและมั่นคงในงาน ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม สภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ และการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ตามลำดับ ยกเว้นด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคล ด้านการบูรณาการทางสังคม และด้านสิทธิส่วนบุคคล ตัวแปรความสุขในการทำงานสามารถร่วมกันทำนายระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครพนม ได้ร้อยละ 57.20 (R2Adj=.572) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยองค์ประกอบย่อยของตัวแปรความสุขในการทำงาน พบว่า ตัวแปรที่มีค่าค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานของตัวพยากรณ์ สูงที่สุดได้แก่ การติดต่อสัมพันธ์ ความสำเร็จในงาน ด้านความรักในงาน ยกเว้นด้านการเป็นที่ยอมรับ

สรุปผล: ผลศึกษาชี้ให้เห็นว่าพนักงานมีความภักดีต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน และคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรคุณภาพชีวิตและความสุขเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของความผูกพันธ์ต่อองค์กร ซึ่งบ่งชี้ถึงความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ความมั่นคงในการทำงาน การมีส่วนร่วมทางสังคม สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน โอกาสในการก้าวหน้า และค่าตอบแทนที่ยุติธรรมในการสร้างความภักดีขององค์กรที่แข็งแกร่ง

References

กัญญา บุดดาจันทร์. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดโรงพยาบาลนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). รายงานการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้าประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ชฎาภรณ์ เพียยุระ. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชลธิชา ทองมาก. (2560). อิทธิพลของความสุขในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1 (1), 57-76.

ฐิติพร มุ่งดี. (2565). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณดนย์ พุดด้วงเงิน. (2565). การสนับสนุนจากองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัช อุษาคณารักษ์. (2554). ความผูกพันของพนักงาน. Retrieved from: http://www.hrcenter.co.th

ณัฐฐินันท์ ศรีนุกูล. (2565). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรรณรัตน์ โสธรประภากร. (2562). กฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

พระมหารัฐพงษ์ พรมหากุล. (2563). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 8. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วนัชพร เล่าฮะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2558). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สาวิณี ภูรีปติพัตร์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อวัชพงษ์ มีคุณ. (2562). ความสุขในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

อิสราภรณ์ รัตนคช. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปัตตานี: กองทุนวิจัยวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

เอื้องคำ จันทะพรม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Allen, N.J., & Meyer, J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.

Eisenberger, R., Fasolo, P., & Davis-LaMastro, V. (1990). Perceived organizational support and employee diligence, commitment, and innovation. Journal of Applied Psychology, 75(1), 51-59.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1986). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.

Meyer, J.P., & Allen, N.J. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review, 1(1), 61-89.

Meyer, J.P., & Herscovitch, L. (2001). Commitment in the workplace: Toward a general model. Human Resource Management Review, 11(3), 299-326.

Meyer, J.P., Stanley, D.J., Herscovitch, L., & Topolnytsky, L. (2002). Affective, continuance, and normative commitment to the organization: A meta-analysis of antecedents, correlates, and consequences. Journal of Vocational Behavior, 61(1), 20-52.

Opener. (2003). Happiness at work. [Online]. Available: http://www.iopener.co.uk/happinessatWork

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46–56.

Walton, R.E. (1975). Improving Quality of Work Life. Harvard Business Review, 15 (5), 12-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31

How to Cite

เปรมอุปพงษ์ เ. ., ร่มเย็น ล., & สวัสดิ์ไธสง ส. . (2024). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(3), 353–374. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275592