การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโนสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275515คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์; , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก;, การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐาน; , ทักษะการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโนบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ผู้เรียนขาดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ และฝึกฝนโดยใช้สถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ในชีวิตประจำวันได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโนสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและ
ความต้องการจำเป็น ด้วยการศึกษาและวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 4 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา จำนวน 8 คน และผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 15 คน 2) การพัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และตรวจสอบคุณภาพด้วยการจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (M)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ABABA Model) มีผลการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.57, SD = 0.09) ประกอบไปด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ
5) ระบบสนับสนุน ระบบสังคมและหลักการตอบสนอง
สรุปผล: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นกรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ABABA Model) ประกอบด้วย 1) หลักการ 5 ประการ ได้แก่ 1.1) หลักการปฏิบัติ 1.2) หลักการปฏิสัมพันธ์ 1.3) หลักการรวบรวมข้อมูล 1.4) หลักการวิเคราะห์ และ 1.5) หลักการการนำไปใช้ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโนสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 3.1) ขั้นกำหนดปัญหา (Assigning: A) 3.2) ขั้นระดมความคิด (Brainstorming: B) 3.3) ขั้นพินิจแก้ไข (Adjusting problems: A) 3.4) ขั้นสรุปและนำเสนอ (Briefing and presenting: B) และ
3.5) ขั้นประเมินผลงาน (Assessing: A) 4) การวัดและประเมินผล แบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ 4.1) การวัดและประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) และ 4.2) การวัดและประเมินผล (Summative Assessment) เพื่อตรวจสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนหลังจากที่เรียนแล้ว โดยใช้แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และประเมินตามเกณฑ์การคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของ มาร์ซาโน (Marzano) ประกอบด้วย 4.2.1) การจับคู่ (Matching) 4.2.2) การจัดหมวดหมู่ (Classifying) 4.2.3) การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด (Error analysis) 4.2.4) การสรุปหลักเกณฑ์ (Generalizing) และ 4.2.5) การคาดการณ์ (Specifying) และ 5) ระบบสนับสนุน ระบบสังคมและหลักการตอบสนอง ประกอบด้วย 5.1) ระบบสังคม ครูผู้สอนต้องจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู 5.2) ระบบสนับสนุน ครูผู้สอนต้องจัดเตรียมเนื้อหา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน ปัญหา สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของผู้เรียน และ 5.3) หลักการตอบสนอง ครูผู้สอนอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ และเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
References
กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ถอดบทเรียนประสบการณ์กาารจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ Geo-literacy learning for our planet. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6. ซัคเซสมีเดีย.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). เทคโนโลยีการสอน: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
ดรุณี จำปาทอง. (2560). สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับการศึกษาภาคบังคับ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10(2), 121-135.
ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2557). การสร้างนวัตกรรม: เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัณฑิต ทิพากร. (2550). การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. ในอาจารย์มืออาชีพ: แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประณาท เทียนศรี. (2556ก). การสอนสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดของผู้เรียนระดับประถมศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประณาท เทียนศรี. (2556ข). ผลของการใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 5W 1H ในสื่อภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในกาารคิดวิเคราะห์และความคิดรวบยอดของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2551). การเรียนเชิงรุก (Active Learning).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียา สมพืช. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 260-270.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์, & พเยาว์ ยินดีสุข. (2559). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, & อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 9: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. เลิฟ แอนด์ลิพ เพรส.
วิทวัส ดวงกุมเมศ, & วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 1-14.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2550). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Back ward Design. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2557). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนการสอนสาระร่วมสมัยในวิชาสังคมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 7(2), 36-37.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 186, 3–5.
สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2552). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ. (2554). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนภาพการพิมพ์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Adams, D.M., & Hamms, M.E. (1990). Cooperative Learning: Critical Thinking and Collaboration across the Curriculum. Charles C Thomas.
Artzt, A.F., & Newman., C.M. (1990). Cooperative Learning. The Mathematics Teacher, 83(6), 488-449.
Association of American Geographers. (1984). Guidelines for Geographic Education. Elementary and Secondary Schools. National Council for Geographic Education.
Auerbach, A.J., & Schussler, E. (2017). A Vision and Change Reform of Introductory Biology Shifts Faculty Perceptions and Use of Active Learning. Cell Biology Education, 16(4), 1-12.
Bednarz, S.W., Bettis, N.C., Boehm, R.G., Souza, N.R.D., Downa, R.M., Marran, J.F., Morrill, R.W., & L., S.C. (1994). Geography for Life: National Geography Standards. National Geographic Research & Exploration.
Bloom, B.A. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals-Handbook I: Cognitive Domain. McKay.
Bonwell, C.C., & Eison, J.A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom 1991 ASHE-ERIC Higher Education Reports. Office of Educational Research and Improvement (ED).
Cavanagh, A., Chen, X., Bathgate, M., Frederick, J., Hanauer, D., & Graham, M. (2018). Trust, Growth Mindset, and Student Commitment to Active Learning in a College Science Course. Cell Biology Education, 17(1),ar10. doi: 10.1187/cbe.17-06-0107.
Darmawan, P. (2020). Students’ Analytical Thinking in Solving Problems of Polygon Areas. Jurnal Penelitian Didaktik Matematika, 4(1), 17-32.
Dewey, J. (1993). How We Think: A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educative Process. Boston: D.C. Heath.
Drew, V., & Mackie, L. (2011). Extending the constructs of active learning: Implications for teachers' pedagogy and practice. The Curriculum Journal, 22, 451-467.
Easton, G. (1992). Learning from Case Studies. 2nd edition. Prentice-Hall International (UK) Ltd.
Edwards, S. (2015). Active Learning in the Middle Grades. Middle School Journal May, 46(5), 26-32.
Felder, R. M., & Brent, R. (2009). Active Learning: An Introduction. ASQ Higher Education Brief, 2 (4), 4-9.
Fink, L.D. (1999). Active Learning. Reprinted with permission of the University of Oklahoma. Instructional Development Program.
Good, C.V. (1973). Dictionary of education. 3rd edition. McGraw-Hill.
Herreid, C. F. (1999). What Makes up a Case?. Journal of College Science Teaching. 48 (3), 38-44.
Herreid, C.F. (2006). The Case Study Method in the STEM Classroom. Journal of Metropolitan Universities, 17(4), 30-40.
Ikhsan, F.A., Kurnianto, A.K., & Apriyanto, B. (2018). Geography Skills Domain Taxonomy. Geosfera Indonesia, 2(1), 54-59.
Joyce, B.R., & Weil, M. (2017). Models of Teaching. 9th edition. Boston: Allyn and Bacon.
Kolodner, J. (1992). An introduction to case-based reasoning. Artificial Intelligence Review, 6, 3-34.
Lane, R. (2020). Logic & Analytical Thinking: Solve Complex Problems, Become Smarter, and Detect Fallacies by Improving Your Rational Thinking, Your Reasoning Skills, and Your Brain Power. Independently published.
Marzano, R.J., & Kendall, J.S. (2007). A New Taxonomy of Education Objective. Corwin Press.
Maude, A. (2010). What does geography contribute to the education of young Australians? Geographical Education, 23, 14-22.
McKinney, K. (2010). Active Learning. Center for Teaching, Learning & Technology.
Meyers, C., & Jones, T.B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco, CA: Jossey-Bass Inc.
Nuroso, H., Siswanto, J., & Huda, C. (2018). Developing a Learning Model to Promote the Skills of Analytical Thinking. Journal of Education and Learning (EduLearn), 12(4), 775-780.
Scheyvens, R., Griffin, A., Jocoy, C., Liu, Y., & Bradford, M. (2008). Experimenting with Active Learning in Geography: Dispelling the Myths that Perpetuate Resistance. Journal of Geography in Higher Education - J GEOGR HIGHER EDUC, 32(1), 51-69.
Slavin, R.E. (1987). Cooperative Learning and Cooperative Schools. Educational Leadership.
Tileston, D.W. (2007). Teaching Strategies for Active Learning: Five Essential for Your Teaching. Corwin Press.
Troutman, A.P., & Lichtenberg, B.K. (1987). Mathematics: A Good Beginning. Strategies for Teaching Children. 3rd edition. Brooks/Cole Publish Company.
Yli-Panula, E., Jeronen, E., & Lemmetty, P. (2019). Teaching and Learning Methods in Geography Promoting Sustainability. Education Sciences, 10(1), 1-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ