รูปแบบการมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยก: กรณีศึกษาพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นภธร ศิวารัตน์ อาจารย์ประจําคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0001-2203-969X

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275472

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน, , การแก้ไขปัญหายาเสพติด, , ครอบครัวที่แตกแยก

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ครอบครัวเป็นแหล่งสร้างนิสัยความคิด ความเชื่อค่านิยม และทัศนคติสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่น อิทธิพลของครอบครัวจึงมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาบุคลิกภาพทั้งทางกายและใจของเด็ก หากครอบครัวมีความบกพร่องก็ย่อมส่งผลต่อสมาชิกในครอบครัวขาดความสมดุล ในครอบครัว มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่การมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ดังเช่นการติดยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้  ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยกในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยกในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (3) เพื่อศึกษาผลกระทบของปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยกในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยก: กรณีศึกษาพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 และทำการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย: (1) สภาพปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยกในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ได้แก่ ผู้เสพรายใหม่มีจำนวนมากขึ้นที่พัฒนาตนเองขึ้นจากผู้เสพเป็นผู้ค้า ผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดที่ไม่สามารถเลิกได้กลับมาเสพเหมือนเดิม นักค้ายาเสพติดจากประเทศข้างเคียงมีการจัดส่งบริการยาเสพติดให้นักค้ายาเสพติดในท้องถิ่นมากขึ้น  มีนักค้ายาเสพติดหน้าใหม่รายย่อยมากขึ้น และ มีนักค้ายาเสพติดกลุ่มเดิมหรือกลุ่มผู้ต้องขังที่พ้นโทษมาทำพฤติกรรมเดิม (2) สาเหตุของปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยก ได้แก่ จากการรู้เท่าไม้ถึงการณ์  จากการถูกหลอกลวง  จากความเจ็บป่วย จากสาเหตุอื่นที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการแพร่ระบาดอยู่ (3) ผลกระทบของปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยก ได้แก่ ผลกระทบในระดับบุคคลหรือต่อตัวผู้เสพยา ผลกระทบระดับครอบครัวผู้เสพยาเสพติด ผลกระทบต่อสังคมและชุมชน  ผลกระทบระดับประเทศ (4) แนวการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประกอบด้วย การระบุครอบครัวที่มีความเสี่ยง  การสร้างเครือข่ายสนับสนุน การจัดทำโครงการการเรียนรู้  ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ การวางกลยุทธ์การป้องกัน การเข้าถึงการรักษา การเสริมพลังให้ครอบครัว และ การสนับสนุนระยะยาว

สรุปผล: ผลการวิจัยเน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงที่น่าตกใจในประเด็นยาเสพติดภายในครอบครัวที่แตกแยก รวมถึงการติดยาเสพติดและหันมาค้าขายมากขึ้น การรักษาที่กลับเป็นซ้ำ และการมีส่วนร่วมของผู้ค้ามนุษย์ชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น สาเหตุมีตั้งแต่ความไม่รู้ไปจนถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ปัญหาเหล่านี้ขยายไปไกลกว่าครอบครัว ส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ การแทรกแซงของชุมชนที่มีประสิทธิผลถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยมุ่งเน้นไปที่การระบุความเสี่ยง เครือข่ายการสนับสนุน การศึกษา การทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญ และการสนับสนุนอย่างยั่งยืนสำหรับครอบครัวเพื่อต่อสู้กับความท้าทายเหล่านี้

References

กองบัญชาการตรวจปราบปรามยาเสพติด. (2553). สถิติการจับกุมคดียาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการตรวจปราบปรามยาเสพติด.

เดชา ศิริเจริญ. (2555). เด็กกับอิทธิพลของครอบครัว. วารสารนิติศาสตร. 3(8), 12-17.

ธนาภรณ์ เมทณีสดุดี. (2543). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีต่อการรับบริการสื่อวิดีทัศน์ : ศึกษาเฉพาะกรณี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรสแอนด์ดีไซน์.

พรศรี พัฒนาพงษ์.(2550). ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดใน สถานศึกษา. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชิต บับภาเอก. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำาผิดของเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ยุพา พูนขํา, ประกายดาว พรหมประพัฒน์, กอบกุล ไพศาล อัชพงษ์ และ ธนภูมิ สามัคคีคารมณ์. (2553). การส่งเสริมสุขภาพป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพเยาวชน. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย: กระทรวงสาธารณสุข.

วนัญญา แก้วแก้วปาน. (2551) พฤติกรรมอาชญากรรมกับประวัติการใช้ยาเสพติดของเยาวชนในสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน [บ้านกรุณา] . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ มั่งคั่ง, จินตนา วัชรสินธุ์ และ วรรณี เดียวอิศเรศ. (2559). ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นชาย ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่ง. The Public Health Journal of Burapha University. 11 (2), 53-63.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). สาระสําคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2554). รายงานประจำปี 2554 สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ปปส.). (2561). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ปปส.).

อุทัย กมลศิลป์ และคณะ. (2556). กระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติด ในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองพอก ปีการศึกษา 2556. ธรรมทรรศน์, 17 (1), 59-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31

How to Cite

ศิวารัตน์ น. . (2024). รูปแบบการมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในครอบครัวที่แตกแยก: กรณีศึกษาพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(3), 275–290. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275472