การวิเคราะห์สัญญะในการรำบวงสรวงท้าวสุรนารีเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275463คำสำคัญ:
สัญญะ; , รำบวงสรวง; , ท้าวสุรนารีบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การรำบวงสรวงท้าวสุรนารีเป็นสัญญะทางสังคมเพื่อแสดงพลังความศรัทธาของสตรี ชาวโคราช โดยกิจกรรมดังกล่าวมีกำหนดจัดงานในวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี และในปี พ.ศ. 2566 ถือเป็นวาระพิเศษในการฉลองเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี ผู้จัดงานจึงมีการกำหนดให้มีนางรำบวงสรวง จำนวน 10,555 คน อีกทั้งยังคัดสรรเนื้อร้อง ท่ารำ ทำนองเพลงให้สอดคล้องกับการแสดงครั้งนี้ งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์สัญญะในการรำบวงสรวงท้าวสุรนารีเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองเมืองนครราชสีมา ครบรอบ 555 ปี” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัญญะและการประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะที่ปรากฏในการรําบวงสรวงท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม)
ระเบียบวิธีการวิจัย: เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ปี 2566 ทั้งหมด 7 เพลง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากคลิปฝึกซ้อมการรําบวงสรวงท้าวสุรนารีจำนวน 2 คลิปที่เผยแพร่ผ่านช่องทางยูทูป จัดทำโดย เหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา โดยจะศึกษาจากเนื้อเพลงประกอบท่ารำที่สื่อสารออกมาจากผู้ฝึกซ้อมรำ จำนวน 2 ท่าน ซึ่งคลิปการแสดงนี้มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้นางรำฝึกซ้อมเองได้ตามความต้องการมีทั้งแบบที่เห็น ท่ารำด้านหลังและการฝึกซ้อมรำแบบเห็นด้านหน้าแบบกระจก
ผลการวิจัย: สัญญะที่แสดงผ่านเนื้อเพลงเป็นการสื่อสารอำนาจของจังหวัดนครราชสีมาโดยแสดงศักยภาพของท้องถิ่นในทุกด้านต่าง ๆ นอกจากนั้นยังสะท้อนความผูกพันต่อพิธีกรรมรำบวงสรวงท้าวสุรนารีอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อวีรสตรีที่กอบกู้เมืองนครราชสีมาตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทอดผ่าน เนื้อเพลงเนื่องในโอกาสสำคัญ ในแง่สัญญะวิทยาคลิปการรำบวงสรวงที่สื่อสารความหมายโดยอรรถ (Denotative Meaning) และความหมายโดยนัย (Connotative Meaning) ผ่านท่าทางต่าง ๆ ที่ปรากฏในรูปแบบการรำ (Dance Format) มีความซับซ้อนน้อยไปจนถึงมากตามความซับซ้อนของแก่นของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่บรรยายผ่านของเพลง โดยที่เนื้อเพลงและท่ารำมีความสัมพันธ์กับท่วงทำนองเพลงและองค์ประกอบของเพลง (Elements)
สรุปผล: งานวิจัยนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ในการวิเคราะห์การรำบวงสรวงท้าวสุรนารีว่าด้วยเรื่องสัญญะวิทยา และเพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาสหสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพลสโพรดักส์.
จิรวัสน์ จันทร์นวล. (2563). บทบาททางเพศของผู้หญิงในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่น: วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น) : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชุมพล ชะนะมา. (2564). รำบวงสรวงท้าวสุรนารี: ความเป็นมาและบริบททางวัฒนธรรมในการแสดง. วารสารศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(1), 69-86.
เดลินิวส์ออนไลน์. (2566). เปิดประวัติวีรสตรีย่าโม-ย่าบุญเหลือ ศูนย์รวมใจชาวโคราช. Retrieved on 31 January 2024 from https://www.dailynews.co.th/news/1349310/
ทินวงษ์ รักอิสสระกุล. (2554). การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นประจำภาคเหนือตอนล่าง เพื่อการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 33(1), 93-110.
พีรดนย์ บุญมา. (2561). การวิเคราะห์สัญญะของนักกีฬาในภาพยนตร์โฆษณาไทย. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์. (2564). เครือข่ายการสื่อสารของกลุ่มผู้รำบวงสรวงท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วีระพงษ์ ตามกลาง. (2561). สัญญะในการรำบวงสรวงท้าวสุรนารี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. 1(2), 1013-1020.
อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์: หลักการ แนวคิด นวัตกรรม (Mediumology). ปทุมธานี : นาคร.
De Saussure, F. (1974). Course in General Linguistics. HarperCollins Distribution Services
TNNONLINE. (2566). โคราชเตรียมจัด ‘งานย่าโม’ ฉลองยิ่งใหญ่ 12 วัน 12 คืน. Retrieved on 31 January 2024 from https://www.tnnthailand.com/news/lifestyle/141421/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ