การวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าของสุนัขในการเลือกใช้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับสุนัขในจังหวัดชลบุรี
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275454คำสำคัญ:
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อต่อการตัดสินใจ; , คุณภาพของพัก; , คุณภาพบริการ;, นราธิวาสบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เริ่มตั้งแต่เรามองสัตว์เลี้ยงเป็นสมาชิกของครอบครัว ส่วนธุรกิจบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งโรงแรมและโรงพยาบาลสัตว์ก็มีการเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการของผู้เลี้ยงสุนัขที่ต้องการให้สุนัขของตนได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพและเชื่อถือได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลการตัดสินใจของเจ้าสุนัขในการเลือกใช้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับสุนัข
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาที่เป็นเจ้าของสุนัขชาวไทย และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเขตชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มโดยบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย: (1) คุณภาพของที่พัก ด้านตราสินค้า และมาตรฐาน เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกที่พักชั่วคราวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) คุณภาพบริการ ด้านความสามารถของผู้ให้บริการ ด้านการเข้าถึงบริการ และด้านอัธยาศัยไมตรี เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกใช้ที่พัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) คุณค่าที่ได้รับ ด้านคุณค่าเชิงตัวเงิน ด้านคุณค่าเชิงอารมณ์ และด้านคุณค่าจากการใช้ประโยชน์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้ที่พักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผล: ข้อสรุปของการศึกษาเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญที่รับรู้ถึงคุณค่า มาตรฐานการบริการ และคุณภาพที่พัก ในการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกที่อยู่อาศัยระยะสั้น โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดการทั้งองค์ประกอบที่เป็นรูปธรรม เช่น การเข้าถึงบริการและชื่อเสียงของแบรนด์ ตลอดจนองค์ประกอบที่เป็นนามธรรม เช่น คุณค่าที่รับรู้ และการเติมเต็มทางอารมณ์ ผลลัพธ์เหล่านี้เน้นย้ำถึงลักษณะองค์รวมของความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมที่พัก และเน้นย้ำถึงความสำคัญอย่างยิ่งในการมอบประสบการณ์ที่ครบถ้วนและเติมเต็มเพื่อดึงดูดและรักษาลูกค้าไว้
References
กฤศนพัชญ์ บุญช่วย และสมบัติ กาญจนกิจ. (2557). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาว รัสเซีย ที่มีต่อการให้บริการของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันพละศึกษา, 6. 152 – 167.
ชุติมา วุฒิศิลป์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 27(2), 123-134.
ชูศักดิ์ ชูศรี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในการเลือกใช้บริการที่พักแรม ประเภทรีสอร์ทในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย 1 “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” วันที่ 12-13 มกราคม 2555. 211-217. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิราม จันทรเสน. (2565). โอกาสของธุรกิจให้บริการดูแลสัตว์เลี้ยง ช่วงหลังสถานการณ์ระบาดของโควิด-19. สำนักเจรจาการค้าบริการและการลงทุน กรมเจราการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.
Black, J. (2006). The Black Effect. Journal of Black Studies, 37(2), 225-245.
Butz, H.E., & Goodstein, L.D. (1996). Measuring customer value: Gaining the strategic advantage. Organizational Dynamics, 24(3), 63-77.
Chowdhury, G.G. (2005). Natural language processing and applications. New Delhi: PHI Learning Private Limited.
Evans, D., & McKee, J. (2019). Social media marketing: The next generation of business engagement. Routledge.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. 11th ed. Upper Saddle River, N.J.: Pearson Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. 15th edition. Pearson.
Lovelock, C., & Wirtz, J. (2017). Services marketing: People, technology, strategy. 8th edition. Pearson.
Marketeer Team. (2021). ปรากฏการณ์ Pet Humanization ดันตลาดธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงโต. Retrieved on 7 December 2021 from https://marketeeronline.co/archives/243237.
Monroe, M. (1987). The body politic: Theory, practice, and pedagogy. New York: Routledge.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. 2nd edition. New York: McGraw-Hill.
Solomon, M. R. (2020). Consumer behavior: Buying, having, and being. 13th edition. Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ