การศึกษาทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275376

คำสำคัญ:

ทักษะการบริหารจัดการศึกษา; , ยุคนิวนอร์มัล

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดการศึกษาเพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุคนิวนอร์มัลทำให้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน บุคลากรทางการศึกษาจำนวนมากมีการปรับตัวเพื่อใช้เทคโนโลยีในการทำงานทางไกลส่งผลกระทบไปถึงพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของครูและนักเรียนเพื่อการเรียนรู้ทางไกลและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้กลายเป็นความปกติใหม่ทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนสำหรับผู้เรียนทุกคน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียน 2) ศึกษาระดับของทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียน 3) เปรียบเทียบระดับของทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ 4) เปรียบเทียบระดับของทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหารงาน

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะต่อเนื่อง คือ ระยะที่ 1 มีผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ในปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: (1) ทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 6 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่ยั่งยืน 3) ทักษะด้านการคิดและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4) ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อดิจิทัล และนวัตกรรมการบริหารจัดการ 5) ทักษะทางด้านความฉลาดทางอารมณ์และมีทัศนคติเชิงบวก และ 6) ทักษะทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษ (2) ทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผู้บริหารที่สังกัดโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีระดับของทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ แตกต่างกัน และ (4) ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการบริหารงานแตกต่างกัน มีระดับของทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ แตกต่างกัน

สรุปผล: การบริหารการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องอาศัยความสามารถที่หลากหลายที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของ "ความปกติใหม่" นอกเหนือจากการปรับให้เข้ากับขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การบริหารจัดการที่หลากหลายแล้ว ผู้บริหารยังจำเป็นต้องมีทักษะด้านการสื่อสาร เทคโนโลยี และความฉลาดทางอารมณ์ที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ความรู้ที่ซับซ้อนนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของแนวทางที่กำหนดเองเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของความเป็นผู้นำด้านการศึกษาในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. Retrieved on 10 February 2024 from https://moe360.blog/2023/01/04/policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤติโควิด-19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา (ภาคโปสเตอร์), 407-416. 27 มีนาคม 2564, วิทยาลัยนครราชสีมา.

ดวงใจ หงส์จันทร์. (2564). จังหวัดกาฬสินธุ์ คุมเข้มปิดโรงเรียนทุกแห่ง สอนออนไลน์แทนจนถึง 14 มกราคม 65. Retrieved on 25 December 2023 from: https://kalasin.prd.go.th/th/content/category/ detail/id/33/iid/66383

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). ทักษะผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : จี. พี. ไซเบอร์พริ้นท์.

นิภาธร มุลกุณี. (2561). การพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ในยุคไทยแลนด์ 4.0. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิภาพร รอดไพบูลย์. (2565). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญส่ง กรุงชาลี. (2561). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 783-795.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2563). ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติศัพท์คำใหม่ “New Normal” ความปรกติใหม่ที่เกิดขึ้นจาก COVID-19. Retrieved on 11 June 2021 from: http://omnirecipes.com/2020/05/07/new-normal/

วัสสิกา รุมาคม. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารมหาจุฬา-นาครทรรศน์, 9(6), 16-30.

วิชัย วงใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ใน New normal. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. แจงเลือกวิธีเรียนได้หลายแบบหากไม่พร้อมเรียนออนไลน์. Retrieved on 11 June 2021 from https://www.obec.go.th/archives/ 377135.

สุฑาทิพย์ มณีรัตนเลิศวานิช. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการสื่อสารภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(2), 99-112.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.

สุวิมล มธุรส (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(40), 33 – 42.

Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.). (2021). Handbook for Smart School Leaders: Survival Strategies for the Toughest Challenges of School Leadership. Taylor & Francis.

Ferdig, R.E., Baumgartner, E., Hartshorne, R., Kaplan-Rakowski, R., & Mouza, C. (Eds.). (2020). Teaching, Technology, and Teacher Education during the COVID-19 Pandemic: Stories from the Field. Association for the Advancement of Computing in Education (AACE).

Fink, D., & Wamsley, G. (2020). Leading the New Normal: Perspectives on Education Leadership During the COVID-19 Pandemic. Routledge.

Halverson, R., & Poole, A. (Eds.). (2020). Handbook of Education Policy Studies. Springer.

UNESCO. (2020). COVID-19 Educational Disruption and Response. UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-06

How to Cite

ชมดง พ. แ., มะลาศรี อ. ., & ขจรปัญญาไพศาล ค. . (2024). การศึกษาทักษะการบริหารจัดการศึกษาในยุคนิวนอร์มัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(3), 569–590. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275376