การพัฒนาชุดการสอน เรื่องหลักการใช้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275097คำสำคัญ:
การพัฒนาชุดการสอน; , หลักการใช้ภาษาไทย; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่องหลักการใช้ภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการสอน เรื่องหลักการใช้ภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน
ระเบียบวิธีการวิจัย: เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ ชุดการสอนเรื่อง หลักการใช้ภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ชุด และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักการใช้ภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นข้อสอบปรนัย (Multiple Choice) แบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุดการสอน เรื่อง หลักการใช้ภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.19/82.40 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง หลักการใช้ภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุปผล: การศึกษานี้เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกลยุทธ์การสอนตามหลักภาษา นอกจากนี้ สมมติฐานของการศึกษายังได้รับการเสริมความเข้าใจด้านไวยากรณ์ไทยให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีนัยสำคัญทางสถิติสนับสนุนที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันประสิทธิผลของการพัฒนาเสริมไทยในหลักสูตร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยวรรธน์ ฉันทจิตปรีชา. (2560). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ : ราชภัฏนครสวรรค์.
เจษฎา บุญมาโฮม และคณะ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. คุรุศาสตร์.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ธมลวรรณ โชติระโส. (2553). การสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาการเขียนเรียงความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารปาริชาต, 23(1), 35-44.
ธัญญาดล อุปชิตกุล. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books) เรื่อง หลักภาษาและการใช้ภาษา รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน (ท31102) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ราชกิจจานุเบกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. ฉบับกฤษฎีกา, 116 (ตอนที่ 74 ก).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
สุคนธรัตน์ สวัสดิกูล, ศิริลักษณ์ อินทสโร และ เอกนุช ณ นคร. (2561). การเปรียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาไทยถิ่นใต้ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
Brown, A., & Johnson, L. (2018). Multimedia learning: A cognitive load perspective. In J. E. Stone, M. M. Siti, A. M. Noor, & P. Y. Tso (Eds.), Multimedia tools and applications for environmental & cultural heritage information systems (pp. 43-61). IGI Global.
Clark, R. C., & Mayer, R. E. (2016). e-Learning and the science of instruction: Proven guidelines for consumers and designers of multimedia learning. John Wiley & Sons.
Johnson, L., Adams Becker, S., Cummins, M., Estrada V., Freeman, A., & Ludgate, H. (2019). NMC horizon report: 2019 higher education edition. EDUCAUSE.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
McKenzie, J., & Hone, L. C. (2021). Revisiting formative evaluation in educational technology design: An empirical study of the ADDIE framework. Educational Technology Research and Development, 69(2), 915-938.
Roberts, T. S., & Green, S. G. (2017). Integrating technology into teaching: A challenge for 21st century teachers. Journal of Technology and Teacher Education, 25(4), 413-437.
Smith, A. B., & Jones, C. D. (2020). Enhancing teaching and learning through instructional kits. Journal of Education, 42(3), 297-312.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ