การบริหารงานเชิงกลยุทธ์และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.275044คำสำคัญ:
การบริหารงานเชิงกลยุทธ์; , การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล; , การบริหารงานพัสดุบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การบริหารงานพัสดุมีความสำคัญต่อการบริหารเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จของการบรรลุวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์การ ทั้งในองค์การขนาดเล็กจนถึงองค์การขนาดใหญ่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการบริหารงานพัสดุที่มี ประสิทธิภาพ ดังนั้นแล้วผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีคุณสมบัติและมีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับพัสดุโดยตรง จึงจะทำให้งานสำเร็จลุล่วงและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาอิทธิพลของการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร จำนวน 283 คน โดยการเทียบตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: (1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) บริหารงานเชิงกลยุทธ์ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (β=.403) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ (β=.274) การตรวจสอบภาพแวดล้อม (β=.167) และการควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ (β=.133) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุได้ร้อยละ 89.30 (R2Adj=.893) (3) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักความรับผิดชอบ (β=.304) หลักคุณธรรม (β=.241) หลักนิติธรรม (β=.232) และหลักความคุ้มค่า (β=.131) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ได้ร้อยละ 89.70 (R2Adj=.897) ยกเว้นหลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วม
สรุปผล: ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการจัดการเชิงกลยุทธ์และแนวปฏิบัติธรรมาภิบาลภายในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการจัดการอุปทานโดยรวม ปัจจัยสำคัญ เช่น การดำเนินกลยุทธ์ การกำหนด การติดตามด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบ/ความรับผิดชอบ คุณธรรม หลักนิติธรรม และความคุ้มค่าของเงิน มีบทบาทสำคัญในการทำนายและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการอุปทาน แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างการจัดการเชิงกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลที่ดีกับอุปทาน ผลลัพธ์ของการจัดการ
References
เฉลิมชัย อุทการ. (2563). ปัจจัยของการบริหารงานพัสดุที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของนักวิชาการพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(1), 55-65.
ณัษฐนนท ทวีสิน และธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์. (2561). ธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2), 247-259.
เบญญาภา ยาโตปภา. (2557). การบริหารพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปิยะฉัตร จังหวัดสุข และอุไร สุทธิแย้ม. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารจัดการงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เครือข่ายที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 389-401.
รัตนา อาสาทำ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในมหาวิทยาลัยราชภัฎภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
วิชาญ อิทธิฤกษ์มงคล. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่รอบหนองหาร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิลาวรรณ มังคลา. (2564). การจัดการงานพัสดุที่มีประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ, 7(4), 403-413.
วิลาวัลย์ เทียมเลิศ, วีรยา ภัทรอาชาชัย, และ มณิสรา สนั่นเอื้อเม็งไธสง. ผลกระทบของกลยุทธ์การบริหารพัสดุที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ. 11 (2), 64-73.
วิษณุกรณ์ โคตรมี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิรินธร โพธิพล. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของหน่วยงานภายใต้ สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมชาย สัตยวัน และศิริศักดิ์ หล่าจันขาม. (2563). การจัดการเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารปกครอง. 9 (1), 439-464.
สำนักงาน กศน. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานการความคุมพัสดุ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุพิศ ประณีตพลกรัง (2561). กฎหมายพัสดุ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บัณฑิตอักษร
สุภาพร ภิรมย์เมือง. (2556). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภารัตน์ บาลนาคม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัด. สานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
สุวารินทร์ จอมคำ และจิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์. (2564). ธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(4), 25-37.
เสริมสุข ชลวานิช. (2550). การกำหนดความต้องการและการจัดหาอัตราพัสดุ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Jones, D., & Towill, D. R. (2017). Lean-agile supply chain management: The next frontier for logistics efficiency. Engineering Management Journal, 29(1), 36-46.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Lee, S., & Kozlenkova, I. V. (2020). How e-commerce companies can survive in the face of product returns: A customer experience management perspective. Journal of Retailing, 96(2), 169-183.
Seuring, S., & Müller, M. (2008). From a literature review to a conceptual framework for sustainable supply chain management. Journal of Cleaner Production, 16(15), 1699-1710.
Smith, A., Wang, Y., & Fynes, B. (2020). The impact of RFID technology on efficiency and responsiveness in logistics operations. International Journal of Production Economics, 229, 107788.
Wheelen, T.L. & Hunger, J.D. (2006). Strategic Management and Business Policy. 10th edition. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ