ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ปิยะวรรณ ยางคำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-7078-1872
  • นาวา มาสวนจิก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0001-8217-8475
  • อัจฉรพร เฉลิมชิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-5050-144X
  • พรวดี รักษาศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-3516-8458
  • กชนิภา วานิชกิตติกูล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-4641-3743

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274998

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต; , ผู้สูงอายุ; , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการรองรับสังคมสูงวัยด้วยการกำหนดให้เป็นแผนกลยุทธ์ของประเทศ โดยเริ่มจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติขึ้น ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ระเบียบวิธีการวิจัย: โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One Way ANOVA

ผลการวิจัย: 1) ผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.98 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ย 4.07 ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม มีค่าเฉลี่ย 4.05 ด้านสิทธิเสรีภาพ มีค่าเฉลี่ย 3.95 ด้านการพัฒนาตนเอง มีค่าเฉลี่ย 3.89 และด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ย 3.87 2) ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่แตกต่างกัน

สรุปผล: ผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก และผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่แตกต่างกัน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77. Retrieved on 15 May 2021 from https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580). กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ.

โกศล สอดส่อง. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 6(1), 162-175.

จิราพร เกศพิชญวัฒนาม, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, อังคณา ศรีสุข, และสหรัฐ เจตมโนรมย์. (2561). คู่มือเรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: ยืนยงการพิมพ์.

นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา.

ศรันยา สถิต. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลเกาะขนุนอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์. 13(30), 133-141.

อัญชลี จุมพฎจามีกร. (2566). อยู่อย่างไรให้เป็นสุขในวัยสูงอายุ. Retrieved on 1 September 2023 from: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06162014-1444.

เอกพันธ์ คำภีระ อัมพร ยานะ และ อรัญญา นามวงศ์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 7(2), 44-57.

Johnson, D., & Brown, E. (2019). Socioeconomic Disparities in Quality of Life among Elderly Individuals: An Integrative Review. Aging and Society, 39(4), 589-605.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Smith, A., Johnson, B., & Brown, C. (2018). Exploring the Impact of Demographic Factors on the Quality of Life in Elderly Populations. Journal of Gerontology, 43(2), 215-230.

World Health Organization (WHO). (1993). Aging and Working Capacity. Geneva: World Health Organization Technical Report Series 835.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-07

How to Cite

ยางคำ ป., มาสวนจิก น., เฉลิมชิต อ. ., รักษาศรี พ. ., & วานิชกิตติกูล ก. . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 593–604. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274998

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ