ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออมสิน
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274990คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการลาด 7Ps; , ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ;, แอปพลิเคชันมายโม่บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์ :ออนไลน์แบงค์กิ้ง ถือเป็นเทคโนโลยีทางการเงิน เป็นช่องทางการให้บริการทางการเงินที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยแต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทางการเงินนี้ก็ยังคงมีอุปสรรค จากการสำรวจพบว่าปัจจัยที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้แก่ ปัจจัยด้านความปลอดภัย ผู้บริโภคยังกังวลในเรื่องของความเสี่ยงแม้แนวโน้มของผู้ใช้งานและปริมาณการทำธุรกรรมจะมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นก็ตามแต่ความไว้วางใจความกังวลของลูกค้ายังเป็นเรื่องสำคัญในประเทศไทย ซึ่งการจะชักจูงให้ลูกค้ามาใช้บริการเทคโนโลยีทางการเงินมากขึ้น ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออมสิน
ระเบียบวิธีการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออมสิน จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา: (1) ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออมสิน ซึ่งพบว่า ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางกา รจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกายภาพ และด้านกระบวนการ ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บ ริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออมสิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ร ะดับ 0.05 โดยสามารถอธิบายกา รผันแปรความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออมสิน ได้ร้อยละ 81.60 (2) ข้อเสนอแนะ ควรมีการนำวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมาเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลควบคู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความหลากหลายจากมิติหรือมุมมองต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกต (Observation)
สรุป:ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ด้านประกอบด้วยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านกายภาพ และด้านกระบวนการส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ขณะที่ ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านบุคลากร ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันมายโม่ของธนาคารออมสิน
References
จักรินทร์ สันติรัตนภักดี และธนกร ลิ้มศรัณย์. (2562). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งกรณีศึกษา:เขตพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล. วารสารธุรกิจศรีนครินทร์วิโรฒ, 10 (2), 120-143.
จันทิมา ฉิมช้าง. (2561). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกรรมการเงินบนโทรศัพท์มือถือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
จินตญา สุวรรณน้อย. (2563). ความพึงพอใจในการใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) ของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุฑารัตน์ ดาบแก้ว และกฤช จรินโท. (2561). ความสำเร็จและความพึงพอใจใน Mobile Banking ระหว่างธนาคารสัญชาติไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1 (3), 25-37.
ชญานิน ขนอม. (2560). ส่วนผสมทางการตลาด (7Ps) สำหรับธุรกิจบริการที่มผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา เขาปีบ จังหวัดชุมพร. กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐธยาน์ อนันต์สลุง. (2563). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันเคโมบายแบงก์กิ้งพลัส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ของคนในวัยทำงาน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐวัชร ฤกษ์รักษา. (2563). ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการแอปพลิเคชัน K PLUS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธนาคารออมสิน. (2565ก). My Money My Mobile. ธนาคารออมสิน. Retrieved from: https://www. mymobygsb.com/
ธนาคารออมสิน. (2565ข). ประวัติธนาคาร. ธนาคารออมสิน. Retrieved from: https://www.gsb.or.th/ about/ประวัติธนาคาร
ธนาคารออมสิน. (2565ค). บริการ MyMo. ธนาคารออมสิน. Retrieved from: https://www.gsb.or.th /Mymo.aspx.
ประกายเทียน สันนิถา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy Appของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เปรมกมล หงษ์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชันออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสยาม.
พชรภัทร แสงวงศ์ประเสริฐ. (2562). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มณทิรา น้อยจีน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Krungthai NEXT ของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). การคิดวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางคนางค์ เครือแก้ว, เครือวัลย์ ชัชกุล และนิศศา ศิลปะเสริฐ. (2562). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจการให้บริการ SCB Easy App ของธนาคารไทยพาณิชย์ในจังหวัด ใน ประชุมวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ 2 (น. 837-850). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
อุดร อุประ และสืบชาติ อันทะไชย. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพการบริการของอิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14 (1), 183-195.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons.
Kotler, P. (2014). Principles of marketing. 15th edition. Prentice Hall.
Kotler. P., & Armstrong. (2002). Principle of Marketing. Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ