ศึกษาความพึงพอใจของพนักงานหลังการปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้าบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพลส จำกัดสาขาพระราม 7
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274912คำสำคัญ:
การจัดเก็บสินค้าทฤษฎี FIFO; , ความพึงพอใจ; , ระบบจัดเก็บสินค้าบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มีปริมาณพัสดุที่ต้องจัดส่งในระบบโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อปริมาณสินค้าที่เกินคลังและมีปริมาณเพิ่มขึ้นในทุกวันทำให้การจัดส่งสินค้าเป็นไปด้วยความล่าช้า และไม่ตรงตามระยะเวลา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรงทำให้ลูกค้าขาดความมั่นใจในการใช้บริการครั้งต่อไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายสินค้าภายในคลังสินค้า 2) เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการจัดระบบของคลังสินค้าระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ พนักงานบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด สาขาพระราม 7 ในส่วนคลังจัดเก็บพัสดุและนำส่งพัสดุให้กับลูกค้า จำนวนทั้งหมด 130 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Sample t-test , One Way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า1) การปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้าโดยใช้ทฤษฎี FIFO (First In First Out) สามารถทำให้การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยพิจารณาจากการตอบแบบสอบถาม ซึ่งภาพรวมความความพึงพอใจในการใช้ ทฤษฎี FIFO (First In First Out) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการประยุกต์ใช้ระบบ FIFO ทำให้องค์กรของท่านแก้ไขปัญหาส่งสินค้าล่าช้าได้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2) การปรับปรุงระบบการทำงานโดยการใช้ ทฤษฎี FIFO (First In First Out) ทำให้การทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานได้ง่ายขึ้น ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ลดปัญหาในการทำงาน ไม่มีสินค้าตกค้าง
สรุปผล: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าประสิทธิภาพการเบิกจ่ายสินค้าภายในคลังสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการใช้ทฤษฎี FIFO (First In First Out) คือการนำสินค้าที่เข้ามาก่อนจะถูกส่งออกก่อน ดังนั้นจึงลดปัญหาสินค้าตกค้างในคลัง และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น
References
ธัญกมล ทองก้อน และลภนภัทร ตุลยลักษณ์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา: โรงงานผลิตและจัดจำหน่ายแท็งก์น้ำ. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาโลจิสติกส์ ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นภัสสร สกุลประดิษฐ. (2560). การจัดการสินค้าคงคลังในโรงงานผลิตและกระจายสินค้าแช่แข็ง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร และกฤติยา เกิดผล. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 65-72.
สุรศักดิ์ พรบรรเจิดกุล. (2564). บริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพและทำกำไรทันที. กรุงเทพฯ: กู๊ดเฮด พริ้นติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง
อมรศิริ ดิสสร. (2550). การบริหารสินค้าคงคลัง. กรุงเทพฯ : โอเดียสโตร์,
อรณิชา บุตรพรหม และมาริสา ป้อมบุบผา. (2561). FIFO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง. วารสารการบริหารและจัดการ, 8(1), 137-156.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ