การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้ชุดสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • เบญญาภา วงศ์คำ อาจารย์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี https://orcid.org/0009-0003-2582-3230
  • วรานิษฐ์ ธนชัยวรพันธ์ อาจารย์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี https://orcid.org/0009-0007-8244-9707

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274909

คำสำคัญ:

ชุดสื่อประสม; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; , ภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้ชุดสื่อประสมซึ่งเป็นสื่อกลางในการช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ภูมิศาสตร์โดยใช้ชุดสื่อประสม จากการเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) ชุดสื่อประสมมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ ชั้น ป.4/6 จำนวน 5 แผน ค่าดัชนีสอดคล้องของการจัดการเรียนรู้อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ ค่าดัขนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-0.89 แบบแผนการทดลองใช้แบบกลุ่มเดียว สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, สถิติทดสอบที

ผลการวิจัย: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ภูมิศาสตร์โดยใช้ชุดสื่อประสม โดยนักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งการใช้ชุดสื่อประสมในการจัดการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สามารถส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น กล่าวคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดสื่อประสม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

สรุปผล: การศึกษาเน้นย้ำถึงผลกระทบเชิงบวกของการบูรณาการชุดสื่อในการศึกษาภูมิศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงผลการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขึ้นของคะแนนหลังการเรียนรู้ที่สังเกตได้ ควบคู่ไปกับความกระตือรือร้นและการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น เน้นย้ำถึงประสิทธิภาพของสื่อในการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมู่นักเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เรื่อง การใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาชั้น พื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

แคทลียา จุลมา และ เมตตา มาเวียง (2560). ประสิทธิผลของสื่อประสมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านคณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(2), 117-124.

เต็มสิริ เนาวรังสี (2544). ครูปฐมวัยกับศิลปะเด็ก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต

ปวีณา อินทร์ใหญ่ และ เอื้อมพร หลินเจริญ (2566) การพัฒนาสื่อประสมตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย: วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(1), 146-156.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกลและสภาพฉตราภรณ์ (2555). ออกแบบการวิจัย. พิมพ์คร้งที 7. กรงเทพมหานคร: มหาวิทยาลยเกษตรศาสตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพโรจน์คะเชนทร์. (2556). การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. Retrieved from: http://www.wattoongpel.com/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วิภาพรรณ พินลา และ วิภาดา พินลา (2561). มโนทัศน์พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์กับการสอนสังคมศึกษาในระดับประถมศึกษาผ่านการสอนสาระการเรียนรู้ วิชา เศรษฐศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(2), 1-15.

สมพร เชื้อพันธ์. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3.โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองกับการ จัดการเรียนการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอนบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2531). สื่อประสมโครงการพัฒนาคุณภาพประถมศึกษา (คพศ). กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

อัจฉรา ตาเล๊ะเจ๊ะโซะ (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนเรื่องตามจินตนาการวิชาภาษาไทยโดยใช้สื่อ ประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. หน้า 17. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาฉ๊ะ บิลหีม และคณะ (2565). การพัฒนาสื่อการสอนด้วยการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง การคัดแยกขยะ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, 2(3), 52-61.

Brawley, O.D. (1975). A Study to Evaluate the Effects of Using Multimedia Instructional Modules to Teach Time-Telling to Retarded Learners. Dissertation Abstracts International. 35 (5), 4280-A.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. 3rd edition. New York: McGraw-Hill Book Inc.

McDonald, E.J.B. (1973). The Development and Evaluation of a Set of Muti-Media Self Instructional Learning Activity Packages for Use in Remedial English at an Urban Community College. Dissertation Abstracts International. 34 (4), 1590-A

Orton - Flynn, Susan Jane. (1997). The Design of a Multimedia Calculator and Its Use in Teaching Numeracy to Those with Learning Difficulties. Dissertation Abstracts International. Retrieved on 7 June 2023 from: http://thailis.uni.net.th/dao/detail.nsp.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-07

How to Cite

วงศ์คำ เ. ., & ธนชัยวรพันธ์ ว. . . (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้ชุดสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ . Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 579–592. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274909

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ