วัฒนธรรมองค์การและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อสัมฤทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานอัยการภาค 4
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274908คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์การ; , การบริหารเชิงกลยุทธ์;, สัมฤทธิผลการดำเนินงานบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การ และความสำเร็จ ในการบริหารงานขององค์การ คือ วัฒนธรรมองค์การ นอกจากนั้นแล้วการบริหารเชิงกลยุทธ์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานขององค์การ ซึ่งการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์การเป็น สํวนประกอบและอาศัยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การ การบริหารเชิงกลยุทธ์และสัมฤทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานอัยการภาค 4 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อสัมฤทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานอัยการภาค 4
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของสำนักงานอัยการภาค 4 จำนวน 278 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: (1) วัฒนธรรมองค์การของสำนักงานอัยการภาค 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานอัยการภาค 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสัมฤทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานอัยการภาค 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ตัวแปรวัฒนธรรมองค์การสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับสัมฤทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานอัยการภาค 4 ได้ร้อยละ 53.50 (R2Adj=.535) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของตัวแปรวัฒนธรรมองค์การ พบว่า ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยสูงที่สุด ได้แก่ วัฒนธรรมพันธกิจ (β=.554) รองลงมาคือ วัฒนธรรมส่วนร่วม (β=.354) วัฒนธรรมเอกภาพ (β=.224) และวัฒนธรรมปรับตัว (β=.188) ตามลำดับ (3) ตัวแปรการบริหารเชิงกลยุทธ์สามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับสัมฤทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานอัยการภาค 4 ได้ร้อยละ 85.50 (R2Adj=.855) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของตัวแปรการบริหารเชิงกลยุทธ์ พบว่า ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยสูงที่สุด ได้แก่ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (β=.560) และการตรวจสอบภาพแวดล้อม (β=.484) ตามลำดับ ยกเว้นตัวแปรการกำหนดกลยุทธ์ และด้านการควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์
สรุปผล: ผลการวิจัยการดำเนินงานของสำนักงานอัยการเขต 4 บ่งชี้ถึงสภาพแวดล้อมขององค์กรเชิงบวกที่โดดเด่นด้วยวัฒนธรรมองค์กรโดยรวม การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการปฏิบัติงานในระดับสูง การศึกษาเน้นย้ำถึงบทบาทเชิงคาดการณ์ที่มีนัยสำคัญของวัฒนธรรมพันธกิจในขอบเขตวัฒนธรรมองค์กร และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำกลยุทธ์ไปใช้และการติดตามสภาพแวดล้อมในการจัดการเชิงกลยุทธ์ ผลลัพธ์เหล่านี้ตอกย้ำถึงอิทธิพลบูรณาการของวัฒนธรรมองค์กรและการจัดการเชิงกลยุทธ์ต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของสำนักงานอัยการเขต 4 ซึ่งเสนอแนะกรอบองค์กรที่แข็งแกร่งและสอดคล้องกัน
References
จิราพรรณ สุดลาภา. (2564). วัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทนงศักดิ์ บัวยิ้ม. (2563). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประกอบ คงยะมาศ. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการวิจัย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.
ประกาศคณะกรรมการอัยการ, (2554). ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกําหนดอํานาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายใน ของสํานักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 66 ก, 2 กันยายน 2554
พระมหาสิทธิศักดิ์ สิทฺธาภิรโต (เสนา) (2561). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมือง เพชรบูรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุภาพร รัตนบุรี. (2561). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านธุรการ ของสำนักงานอัยการสูงสุด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฤมล สอนดี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วิชาญ อิทธิฤกษ์มงคล. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่รอบหนองหารอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิทยาธร ท่อแก้ว. (2564). การสร้างวัฒนธรรมองค์กร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศรีสกุล เจริญศรี. (2562). วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. รายงานการวิจัย กองยุทธศาสตร์ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
ศิริลักษณ์ ฉัตรเจริญทรัพย์. (2564). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร : กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถิตย์ จันทร์น้อย. (2565). การบริหารเชิงกลยุทธ์นโยบายกับการเมืองและผลกระทบการกระจายอำนาจต่อการกำกับดูแลท้องถิ่นในประเทศไทย. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมคธ.
สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2555). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.
สำนักงานอัยการภาค 4, (2565). ข้อมูลจำนวนบุคคลากรของสำนักงานอัยการภาค 4. สำนักงานอัยการภาค 4
สำนักงานอัยการสูงสุด, (2562). รายงานประจำปี 2562 สำนักงานอัยการสูงสุด. กรุงเทพฯ : สำนักงานอัยการสูงสุด
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.
สินีนาฏ ทิพย์มูสิก. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ประชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
อทิตยา วิโรจนะ. (2566). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการภาค 9. สารนิพนธ์ฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99–120.
Cameron, K.S., & Quinn, R.E. (2006). Diagnosing and changing organizational culture: Based on the competing values framework. John Wiley & Sons.
Denison, D.R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. John Wiley & Sons.
Denison, D.R., Haaland, S., & Goelzer: (2003). Corporate Culture and Organizational Effectiveness: Is There a Similar Pattern Around the World? Advances in Global Leadership. 3, 205-227.
Kotter, J.P., & Heskett, J.L. (1992). Corporate culture and performance. Free Press.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610
Porter, M.E. (1996). What is strategy? Harvard Business Review, 74(6), 61–78.
Schein, E.H. (2010). Organizational culture and leadership. John Wiley & Sons.
Sergiovanni, T.J., & Starratt, R.J. (1988). Supervision: Human Perspectives. New York: McGraw-Hill.
Thompson, A.A., & Strickland, A.J. (2019). Strategic management: Concepts and cases. McGraw-Hill Education.
Wheelen, T.L., & Hunger, J.D. (2006). Strategic Management and Business Policy. New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ