ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วัชระ รัตนะ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0009-0003-7580-5030
  • ละมัย ร่มเย็น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-9969-8688
  • สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0002-6017-7321

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274874

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการดำเนินงาน; , กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: กองทุนหมู่บ้านมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้และลดรายจ่าย หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ สวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง รวมถึงเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอวานรนิวาส (2) อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอวานรนิวาส

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 395 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย: (1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้นำหมู่บ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการควบคุมองค์การให้สมดุล (β=.320) ด้านการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม (β=.315) ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ (β=.180) และด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิผล (β=.147) มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอวานรนิวาส ได้ร้อยละ 70.80 (R2Adj=.708) การมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (β=.436) และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (β=.178) มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (β=.123) มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอวานรนิวาส ได้ร้อยละ 46.60 (R2Adj=.466)

สรุปผล: ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงภูมิทัศน์เชิงบวกในอำเภอวานรนิวาส ซึ่งความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ระหว่างผู้นำหมู่บ้านและการมีส่วนร่วมของประชาชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สูงของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ปัจจัยที่ระบุ รวมถึงการควบคุมองค์กรที่สมดุล ความประพฤติทางศีลธรรม และการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง เน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงระหว่างผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการดำเนินงานของกองทุนที่มีประสิทธิผล การมีส่วนร่วมของสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการรับผลประโยชน์ การประเมิน และการตัดสินใจ มีส่วนช่วยอย่างมากต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม การค้นพบนี้เน้นย้ำถึงลักษณะองค์รวมและการทำงานร่วมกันของการเป็นผู้นำและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอำเภอวานรนิวาสประสบความสำเร็จ

References

กิติพงษ์ ไชยปิง. (2560). ความสําเร็จในการบริหารงานกองทุนหมู่บ้าน บ้านหนองตะเคียนบอน หมู่ที่ 3 ตําบลหนองตะเคียนบอน อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว .งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

กีรติวรรณ กัลยาณมิตร. (2563). รูปแบบบทบาทที่เหมาะสมของอาสาสมัครและการพัฒนาสุขภาพสู่ความยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จิราพรรณ สุดลาภา. (2564). วัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลับราชภัฏสกลนคร.

จุฑามาศ นิรมลรัตน์. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทองจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกำแพงเพชร. รายงานการวิจัย. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์.

เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

พรพิงค์ จำปานาค. (2562). การประเมินประสิทธิผลและปัจจัยที่กำหนดผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในจังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พันธิยา ดอกไม้. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลับราชภัฏสกลนคร.

ไพโรจน์ ฦาชา. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลับราชภัฏสกลนคร.

มณฑนา ยามา. (2561). อิทธิพลของความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยศวดี เชื้อวงศ์พรหม. (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. (2558). รายงานการศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการงบประมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณของรัฐสภาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (สำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. (2564). ฐานข้อมูลของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. สกลนคร: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร.

สุจิตรา สิงห์หันต์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการภาครัฐของส่วนราชการ ในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสกลนคร.

Arnstein, S. R. (1969). A ladder of citizen participation. Journal of the American Institute of Planners, 35(4), 216–224.

Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational leadership (2nd ed.). Psychology Press.

Bryson, J. M., & Crosby, B. C. (1992). Leadership for the common good: Tackling public problems in a shared-power world. Jossey-Bass.

Chowdhury, S. D., & Mahbub, A. (2012). The impact of strategic leadership on organizational outcomes: A study on private hospitals in Bangladesh. International Journal of Business and Management, 7(7), 66–77.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. World Development.

Den Hartog, D. N., House, R. J., Hanges, P. J., Ruiz-Quintanilla, S. A., & Dorfman, P. W. (1999). Culture-specific and cross-culturally generalizable implicit leadership theories: Are attributes of charismatic/transformational leadership universally endorsed? Leadership Quarterly, 10(2), 219–256.

Fisman, R., & Miguel, E. (2007). Corruption, norms, and legal enforcement: Evidence from diplomatic parking tickets. Journal of Political Economy, 115(6), 1020–1048.

Hitt, M. A., Ireland, R. D., & Hoskisson, R. E. (2007). Strategic Management—Competitiveness and Globalization: Concepts and Cases. Thomas Higher Education.

Pretty, J. (1995). Participatory learning for sustainable agriculture. World Development, 23(8), 1247–1263.

Ribot, J. C. (2002). Democratic decentralization of natural resources: Institutionalizing popular participation. World Resources Institute.

Yamane T. (1981). Statistle and Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-07

How to Cite

รัตนะ ว. ., ร่มเย็น ล. ., & สวัสดิ์ไธสง ส. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 507–528. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274874

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ