ความสุขในการทำงานและความผูกพันในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปรียานุช เกตุบำรุง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, https://orcid.org/0009-0002-4531-4401
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0001-6345-8455
  • สามารถ อัยกร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://orcid.org/0000-0003-3715-7282

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274860

คำสำคัญ:

ความสุขในการทำงาน; , ความผูกพันในงาน; , ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ในปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน ด้วยเหตุผลว่าการที่บุคลากรมีความสุขในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กรในอนาคต ทั้งนี้เพราะบุคลากรที่มีความสุขกับการทำงานจะมีความผูกพันและจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงาน ความผูกพันในงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร 2) ศึกษาอิทธิพลของความสุขในการทำงาน และความผูกพันในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 268 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย: (1) ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   ความผูกพันในงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   (2) ความสุขในการทำงาน ด้านความสำเร็จในงาน (β=.415) ด้านความรักในงาน (β=.218) ด้านการเป็นที่ยอมรับ (β=.201) และด้านการติดต่อสัมพันธ์ (β=.127) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร ได้ร้อยละ 77.10 (R2Adj=.771) ความผูกพันในงานด้านความทุ่มเทในการทำงาน (β =.705) และด้านความรู้สึกเป็นอันหนึ่งกันเดียวกับงาน (β =.327) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร ได้ร้อยละ 79.60 (R2Adj=.796) ยกเว้นด้านความขยันขันแข็ง

สรุปผล: การศึกษานี้ยืนยันความสัมพันธ์เชิงบวกที่แข็งแกร่งระหว่างความสุขในการทำงาน ความผูกพันในการทำงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมของบุคลากรฝ่ายบริหารในอำเภอเมืองสกลนคร ปัจจัยเฉพาะ เช่น ความสำเร็จในการทำงาน ความรักในการทำงาน และการยอมรับในที่ทำงาน มีส่วนสำคัญในการทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม การไม่มีอิทธิพลที่สำคัญจากความขยันหมั่นเพียรต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานอย่างน่าทึ่ง ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยอื่นๆ อาจมีบทบาทที่โดดเด่นกว่าในการพิจารณาประสิทธิผลโดยรวมของบุคลากรฝ่ายบริหารในเขต

References

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2565). ความผูกพันในงานของบุคลากรทางการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชนไทย. รายงานการวิจัย. ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.

จิราวัฒน์ ไทยประเสริฐ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การ ความสุขในการทำงาน และความผูกพันในงาน: กรณีศึกษา พนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. งานวิจัยส่วนบุคคลศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชินกร น้อยคำยาง. (2555). รายงานการวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุติมา แหวนนาค และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564). ความสุขในการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการ สังกัดสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

ฐิติพร มุ่งดี. (2565). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในเขตจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐฐินันท์ ศรีนุกูล. (2565). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงแรงงาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐณิชา หล่อประดิษฐ์. (2564). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดาวลักษณ์ บรรยง. (2563). ความผูกพันและการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์สร้างทางกาญจนบุรี กรมทางหลวง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภะฏกาญจนบุรี.

ปุณยนุช ชินจักร. (2564). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่นครพนม. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรรณปพร สื่อกลาง. (2563). จิตวิญญาณในการทำงาน และการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2561). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 6, 590-599.

สำนักงานท้องถิ่นอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. (2565). ข้อมูลพื้นฐานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. สกลนคร: สำนักงานท้องถิ่นอำเภอเมืองสกลนคร.

สุมาลี ดวงกลาง. (2560). ความสุขในการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

อรพินทร์ ชูชม. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของความยึดมั่นผูกพันในงานของครู: รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

เอื้องคำ จันทะพรม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Bakker, A. B., & Demerouti, E. (2008). Towards a model of work engagement. Career Development International, 13(3), 209-223.

Bakker, A. B., & Ouweneel, E. (2011). Positive organizational behavior: Engaged employees in flourishing organizations. Journal of Organizational Behavior, 32(1), 147-154.

Kahn, W.A. (1990). Psychological conditions of personal engagement and disengagement at work. Academy of Management Journal, 33, 692-724.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration. 33 (12), 652-655.

Pun, K.F., & White, A.S. (2005). A Performance Measurement Paradigm for Integrating Strategy Formulation: A Review of Systems and Frameworks. International Journal of Management Reviews. 7(1), 49-71.

Schaufeli, W. B.; et al. (2002). The measurement of engagement and burnout: A two sample confirmatory factor analytic approach. Journal of Happiness Studies. 3, 71-92.

Schaufeli, W.B., & Bakker, A.B. (2004). Job demands, job resources, and their relationship with burnout and engagement: A multi‐sample study. Journal of Organizational Behavior, 25(3), 293-315.

Seligman, M. E. P. (2002). Authentic happiness: Using the new positive psychology to realize your potential for lasting fulfillment. New York, NY: Free Press.

Wright, T. A., & Cropanzano, R. (2000). Psychological well-being and job satisfaction as predictors of job performance. Journal of Occupational Health Psychology, 5(1), 84-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-05

How to Cite

เกตุบำรุง ป. ., อุดมกิจมงคล ช. ., & อัยกร ส. . (2024). ความสุขในการทำงานและความผูกพันในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 397–418. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274860

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ