การพัฒนาตัวบ่งชี้การสร้างแบรนด์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • เชษฐ์พงศ์ ชัยคณารักษ์กุล คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0006-7405-1152
  • กฤษกนก ดวงชาทม คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0007-3540-0783
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-5265-401X

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274839

คำสำคัญ:

การพัฒนาตัวบ่งชี้;, การสร้างแบรนด์; , วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน; , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์การวิจัย: การสร้างแบรนด์ที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีความโดดเด่นอยู่ในใจของผู้รับบริการนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนในที่สุดก็จะเป็นแบรนด์ที่แข็งและมีประสิทธิภาพทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียน นักศึกษานำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การสร้างแบรนด์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้การสร้างแบรนด์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ระเบียบวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาตัวบ่งชี้การสร้างแบรนด์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.84 -0.97 อำนาจจำแนก ระหว่าง 0.45-0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้การสร้างแบรนด์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์ตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Second order Confirmatory Factor Analysis)

ผลการวิจัย: 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การสร้างแบรนด์ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 44 ตัวบ่งชี้ 1) อัตลักษณ์ของแบรนด์ มี 6 ตัวบ่งชี้ 2) การรับรู้ชื่อเสียงของแบรนด์ มี 11 ตัวบ่งชี้ 3) วัฒนธรรมองค์การ มี 6 ตัวบ่งชี้ 4) ความสัมพันธ์ของแบรนด์ มี 5ตัวบ่งชี้ 5) องค์การแห่งการเปลี่ยนแปลง มี 10 ตัวบ่งชี้ และ 6) ความเป็นนานาชาติ มี 6 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการทดสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การสร้างแบรนด์ ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า  Chi – Square = 990.175 ค่า df = 788 ค่า P-Value = 0.000, CMIN/df. = 1.275, CFI =.979 GFI= 0.917, TLI= .976, AGFI= 0.900, RMSEA= 0.023, RMR= 0.028, NFI= 0.907,IFI= 0.980 และทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

สรุปผล: ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างการสร้างแบรนด์วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างครอบคลุม ประกอบด้วย 6 ปัจจัย รวม 44 ตัวชี้วัด การเน้นที่ตามมาในการประเมินความดีของความพอดีในแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างเน้นย้ำถึงความสำคัญของการประเมินว่าแบบจำลองที่นำเสนอนั้นสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่แท้จริงเพียงใด โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิผลของความพยายามในการสร้างแบรนด์ในสถาบันการศึกษาดังกล่าว

References

จันทนา อุดม และ คณะ. (2563). การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(1), 81-90.

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว. (2551). หลักการเพิ่มผลผลิต. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

ธนาทร เจียรกุล. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการบริหารแบรนด์ของมหาวิทยาลัยไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บวร ประพฤติดี. (2558). วัฒนธรรมองค์กรกับความสำเร็จในการบริหาร: เปรียบเทียบสองวัฒนธรรมองค์กร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์). 5 (2), 1-13.

บัญชา แสงหิรัญ (2551). สัมภาษณ์อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2551,19 สิงหาคม) สัมภาษณ์.

พิลาสลักษณ์ อนันตธนโชคดี. (2560). การรับรู้ของลูกค้าต่อภาพลักษณ์แบรนด์ดรีมมี แวลลีย์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิทวัส สัตยารักษ์. (2552). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์. 20(2),17-29.

วิเลิศ ภูริวัชร. (2553). How sustainable is social networking? Retrieved on 12 September 2010, from : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/vilert/20100912/352652/news.html

ศิริกุล เลากัยกุล. (2551). สร้างแบรนด์อย่างพอเพียง. กรุงเทพฯ: แมเนเจอร์

สมชาติ ธรรมโภคิน และ ศศิรดา แพงไท. (2562). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนสู่โรงเรียนยอดนิยม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6 (8), 4119 – 4132.

สามารถ อัยกร จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2561). อิทธิพลของปัจจัยวัฒนธรรมองค์การภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลักธรรมาภิบาลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ : กรอบแนวคิดการวิจัย. วารสารราชพฤกษ์. 16 (2), 9-17.

สำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน. (2562). ข้อมูลสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคเอกชน. Retrieved from: http://vecp.vec.go.th/en-us/.

สำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน. (2563). การอุดหนุนการศึกษาสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สุธาสินี วิยาภรณ์, ชวนชม ชินะตังกูร และกมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2560). องค์ประกอบการพัฒนาแบรนด์ของมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6 (1), 125-135.

สุมนา เสือเอก. (2560). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน โดยใช้การประเมินผลเชิงดุลยภาพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนันต์ สุดขำ. (2560). กลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) สาขานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อำพล นววงศ์เสถียร เขมรินทร์ ชูประดิษฐ์ และธรรมสรณ์ โมราวรรณ (2562).ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้แบรนด์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในบริ บทสื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในจังหวัดสมุทรปราการ.วารสารการจัดการสมัยใหม่. 17 (1), 147-161.

Aaker, D.A. (2010). Building Strong Brands. London: Simon & Schuster Ltd.

Dom, M., Hani, B., Li, C., & Tze, T. (2016). Determinants of the effectiveness of celebrity endorsement in advertisement. The Journal of Developing Areas, 50(5), 525-535.

Farris, P.N. (2019). Building the brand by designing a visual narrative. Master’s thesis. Clinton Mississippi College.

Keller, K.L. (1993). Conceptualizing, measuring, and managing customer-based brand equity. Journal of marketing. 57 (1), 1-22.

Kotler, P., & Barich, H. (1991). A Framework for Marketing Image Marketing Image Management. Sloan Management Review, 32, 94-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-07

How to Cite

ชัยคณารักษ์กุล เ. ., ดวงชาทม ก., & เรืองสุวรรณ ช. . (2024). การพัฒนาตัวบ่งชี้การสร้างแบรนด์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 545–562. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274839

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ