การพัฒนาตัวบ่งชี้องค์กรแห่งความสุข วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274838คำสำคัญ:
การพัฒนาตัวบ่งชี้; , องค์กรแห่งความสุข ; , วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน; , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์การวิจัย: องค์กรแห่งความสุขเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร ซึ่งมีความเชื่อว่าการสร้างความสัมพันธ์ของคนในองค์กรให้มีความสุข ทำให้มีความผูกพันเกิดจากการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อองค์กร และมีความสุขความรักในงาน ศรัทธาต่อองค์กร พร้อมที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มความสามารถในการทำงานให้กับองค์กร ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้องค์กรแห่งความสุขของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้องค์กรแห่งความสุข ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ระเบียบวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาตัวบ่งชี้องค์กรแห่งความสุขของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้องค์กรแห่งความสุขของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์ตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Second order Confirmatory Factor Analysis)
ผลการวิจัย: 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้องค์กรแห่งความสุข ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 25 ตัวบ่งชี้ 1) คนทำงานมีความสุข มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) สถานที่ทำงานน่าอยู่ มี 5 ตัวบ่งชี้ 3) วัฒนธรรมองค์การ มี 5 ตัวบ่งชี้ 4) ความพึงพอใจในงาน มี 5 ตัวบ่งชี้ และ 5) ชุมชนสมานฉันท์ มี 5 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการทดสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้องค์กรแห่งความสุขของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า Chi – Square = 3853.531 ค่า df = 270 ค่า P-Value = 0.000, CMIN/df. = 1.428, CFI= .962, GFI= 0.929 TLI=.958, AGFI= 0.915, RMSEA=0.033 RMR= 0.030, NFI= 0.886, IFI= 0.963 ซึ่งในการพัฒนาตัวบ่งชี้องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสององค์กรแห่งความสุข วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียง เหนือทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
สรุปผล: สถานศึกษาความสุขในการทำงานถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการบริหารองค์กรในเชิงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่จะมีผลต่อในระดับบุคคลที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีผลต่อองค์กรที่จะทำให้สถานศึกษามีบรรยากาศแห่งความสุข ทั้งผู้บริหารครูผู้สอน และนักเรียนร่วมมือร่วมใจกันในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลดำเนินการที่ดียิ่งขึ้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และที่สำคัญที่สุดก็คือผลผลิตของสถานศึกษา คือ ผู้เรียนที่จะได้รับการเรียนการสอนกับครูที่ทำงานอย่างมีความสุข
References
กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2563). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุข: คนเบิกบาน งานสำเร็จ. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 315-331
จุฑามาศ แก้วพิจิตร และวิชัย อุตสาหกิจ. (2556). สู่การเป็นองค์การแห่งความสุข. นนทบุรี: สองขาครีเอชั่น.
ทิพวัลย์ รามรง. (2557). สารสาระองค์กรแห่งความสุข เล่ม 1. กรุงเทพฯ : พี.เอ. ลีฟวิ่ง.
บุรินทร์ เทพสารและอภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. Journal of Education Studies, 45(3), 83–96. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107391
พงศกร ศรีรงค์ทอง. (2022). องค์การแห่งความสุข: มุมมองจากอาจารย์มหาวิทยาลัย. วารสารสุทธิปริทัศน์ 36 (2), 151-169. Bangkok, Thailand:150-69. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/257899
รุ่งนภา ชุณหวรชัย. (2556). แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข “คึกฤทธิ์ อาร์คิเทค”. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรรณภา ลือกิตินันท์. (2557). แนวทางการสร้างองค์กรสุขภาวะในบริษัทข้ามชาติ : กรณีศึกษาบริษัทอุตสาหกรรมการผลิต ในภาคตะวันออก. Journal of Management Sciences. 31(1), 1-15.
สมคิด ปิ่นทอง. (2556) รูปแบบการจัดการการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นองค์กรแห่งความสุข . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สังข์ทอง รอญศึก. (2556). การพัฒนารูปแบบประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2556). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2557). 10 วิธีสร้างความสุขในที่ทำงานด้วยตัวคุณเอง. Retrieved from: https://www.thaihealth.or.th/Content/
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนสร้างความผูกพันและความพึงพอใจในบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. Retrieved from: http://www.bga.moe.go.th/2018/wp-content/uploads/2020/05/.
สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร. (2552). หนังสือความสุข 8 ประการ Happy 8. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
อธิคุณ สินธนาปัญญา และคณะ. (2557). การบริหารความสุขในสถานศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(88), 15-32.
อภิชัย พันธเสน. (2555). การบริหารองค์กรเพื่อความสุขและประโยชน์สุข. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 1(1),1-5.
Burton, J. (2010). WHO healthy workplace framework and model: Background and supporting literature and practices. Switzerland: World Health Organization. Retrieved from http://www.who.int/
World Health Organization (2010). Global Recommendations on Physical Activity for Health. World Health Organization, Geneva.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ