ผู้นำเชิงบารมีกับการใช้อำนาจบริหารงานกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274741คำสำคัญ:
ผู้นำเชิงบารมี; , อำนาจ; , ชัชชาติ สิทธิพันธุ์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: กรุงเทพมหานครได้มีผู้บริหารทางการเมืองที่ผูกติดกับกรอบคิดแบบเก่า ที่เน้นการทำงานตามอำนาจสายบังคับบัญชา แต่พอมีการเลือกครั้งใหม่ ประชาชนต้องการผู้นำคนใหม่ที่วิธีคิดใหม่และแนวการทำงานแบบใหม่ ซึ่งนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์นั้นมีคุณสมบัติครบตรงตามที่ต้องการทำให้ประชาชนนั้นได้เลือกมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ของผู้นำเชิงบารมีกับการใช้อำนาจบริหารงานกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ 2) ปัจจัยด้านผู้นำเชิงบารมีที่ส่งผลการใช้อำนาจบริหารงานกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการวิจัย: วิธีการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต จำนวน 400 คน เครื่องมีอที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามให้เลือกตอบ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson’ product-moment correlation และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: 1) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงบารมีกับการใช้อำนาจบริหารงานกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ปัจจัยด้านผู้นำเชิงบารมีที่ส่งผลการใช้อำนาจบริหารงานกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผล: การค้นพบที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 แสดงให้เห็นว่าความเป็นผู้นำที่มีเสน่ห์มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออำนาจในการจัดการกรุงเทพมหานคร โดยเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญในกระบวนการกำกับดูแลและการตัดสินใจภายในเมือง
References
เจด็จ คชฤทธิ์, เจนจิรา เจนจิตรวาณิช,หทัยรัตน์ อ่วมน้อย และฤทัย สำนียงเสนาะ. (2562). ธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม: แบบอย่างจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 179-188.
ธันยาภรณ์ นวลสิงห์, ยุวธิดา ชาปัญญา และชีวรัตน์ ศีลพันธุ์. (2556). ผู้บริหารกับการสร้างแรงจูงใจ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 10(2), 45-53.
นุช สัทธาฉัตรมงคล และอรรถพล ธรรมไพบูลย์. (2559). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 167-182.
บีบีซีไทย. (2565). ชัชชาติ สิทธิพันธุ์: ผู้ว่าฯ กทม. ผู้คว้าคะแนนเลือกตั้งสูงสุดในประวัติศาสตร์. Retrieved on 24 August 2022, from: https://www.bbc.com/thai/61545581
บุญช่วย โชติว์โส. (2562). บทบาทของผู้นำในกระบวนทัศน์ใหม่. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(1), 297-307.
ปัญญาพลวัตร และพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2565). ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯและความท้าทาย. Retrieved on 23 August 2022, from: https://mgronline.com/daily/detail/9650000055390
พลวศิษฐ หล้ากาศ. (2564). ประเด็นความท้าทายที่มีต่อบทบาทนักทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(2), 251-260.
มติชนสุดสัปดาห์. (2565). E-DUANG: ปรากฎการณ์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับ การเลือกใหม่ ทางการเมือง. Retrieved on 24 August 2022, from: https://www.matichonweekly.com/e-daung/article_578500
วันชัย มีชาติ และธีระพล เกรียงพันธุ์. (2556). กรุงเทพมหานคร: ความท้าทายการบริหารจัดการเมือง. วารสารสิ่งแวดล้อม, (17)2, 60-71.
สุนิตย์ อาษาจิตร และโสภณ เพ็ชรพวง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมของครูและนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(2), 185-201.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
อติพร เกิดเรือง. (2560). ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการปรับกระบวนทัศน์ในการบริหารงาน กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). วารสารราชนครินทร์, 14(1), 153-159.
อรภัคสุวรรณภักดี และอภิรัตน์ กังสดารพร. (2565). วิสัยทัศน์ผู้นํากับความสําเร็จในการพัฒนาชุมชนเมือง. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 8(3), 339-348.
Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.
Conger, J.A., & Kanungo, R.N. (1998). Charismatic leadership in the organization. Thousand Oaks: SAGE Publication.
House Rj.A. (1977). Theory of charismatic of leadership. In J.L. Pieree & J.W: Newstrom.
House, R.J. (1977). A 1976 theory of charismatic leadership. In hurt, J.G., &Larson, L. (Eds.), leadership: the abutting edge. Carbondale: Southern Illinois University Press.
Lussier, R.N. & Axhua, C.R. (2001). Leadership: Theory, application, skill development. Ohio: South-Western College.
Robbins, S.P. (1993). Organizational Behavior: Concepts Controversies and Applications. New York: Prentice–Hall Inc.
Stogdill, R.M. (1974). Handbook of Leadership. New York: Free Press.
Walker, J., & Almond, P. (2010). Interpreting statistical findings: A guide for health professionals and students. New York: McGraw-Hill.
Weber, M. (1947). The Theory of Social and Economic Organization. New York: Free Press.
Yamane, Tayo. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Yukl, G.A. (2008). Leadership in organizations. 6th edition. New York: Prentice – Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ