การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษระหว่างแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274693คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน;, วิชาภาษาอังกฤษ ; , การเปรียบเทียบปัจจัยบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเรียนรู้ภาษาอังกฤษมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร แสวงหาความรู้และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น แต่พื้นฐานความรู้และความถนัดที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักเรียนมีความสามารถและทักษะทางภาษาอังกฤษต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษระหว่างแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 636 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุทางเดียว
ผลการวิจัย: (1) ผลการศึกษาระดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความรู้พื้นฐานเดิม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 71.98 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการเรียนภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 คุณภาพการสอนของครู มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 บรรยากาศในการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 นิสัยทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 และความสัมพันธ์ในครอบครัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.12 ตามลำดับ และ (2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษระหว่างแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ นิสัยทางการเรียน คุณภาพการสอนของครู บรรยากาศในการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานเดิม มีความแตกต่างกันระหว่างแผนการเรียนที่ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการเรียนภาษาอังกฤษและความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่พบความแตกต่างกันระหว่างแผนการเรียน
สรุปผล: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นอิทธิพลที่สำคัญของปัจจัยต่างๆ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยความรู้เดิมถือเป็นปัจจัยกำหนดที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ การเปรียบเทียบระหว่างแผนการศึกษาเผยให้เห็นถึงความแปรผันที่น่าสังเกตในปัจจัยเฉพาะ ซึ่งบ่งชี้ถึงความสำคัญของการพิจารณาแง่มุมที่หลากหลายสำหรับการแทรกแซงแบบกำหนดเป้าหมาย การค้นพบนี้มีส่วนช่วยให้นักการศึกษาและผู้กำหนดนโยบายได้รับข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่า โดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุงผลลัพธ์ด้านการศึกษาภาษาอังกฤษโดยคำนึงถึงอิทธิพลซึ่งกันและกันของแต่ละองค์ประกอบและบริบท
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. Retrieved from: https://mdh.go.th/news_file/p24516701356.pdf
กุสุมา เลาะเด. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(2), 61-74
ชลกร ชุ่มกลาง. (2562). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์เอ็มเอเอสอีเอ็ม มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาฉบับออนไลน์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 1(2), 1-15.
ณัฐดนัย สุวรรณสังข์. (2561). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่เกี่ยวกับผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เตือนใจ เขียนชานาจ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 8. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(1), 222-235.
เนตรชนก วงศ์สุเทพ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนศิลป์ (ภาษาจีน) ในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุศรา เต็มลักษมี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปุณยนุช เขียดแก้ว. (2565). อิทธิพลของพ่อแม่มีผลต่อการศึกษาของลูกมากน้อยเพียงใด. Retrieved 25 April 2022 from: https://sites.google.com/a/srp.ac.th/srp30749/xiththiphl-khxng-phx-mae-mi-phl-tx-kar-suksa-khxng-luk-mak-nxy-pheiyng-di.
รสรินทร์ ปิ่นแก้ว และ ภานุวัฒน์ ศิรินุพงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตจริง 1 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชา อุตสาหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 83-93.
ศันศนี โคตรชมพู, เชาว์ อินใย, และ จุฑามาส ศรีจำนงค์. (2559). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 308-323.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). https://www.niets.or.th/th/
สมศักดิ์ วันโย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุชาวดี ประสพเนตร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟังพูด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
แสงเดือน บุญแย้ม. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(3), 12-18.
Abdallah, H.E. (2016). Factors affecting students' achievement in English language learning. Al-Balqa Applied University.
Bloom, B.S. (1976). Human characteristics and school learning. McGraw-Hill.
Dörnyei, Z. (2005). The psychology of the language learner: Individual differences in second language acquisition. Routledge.
Epstein, J. L. (2010). School/family/community partnerships: Caring for the children we share. Phi Delta Kappan, 76(9), 701-712.
Gardner, R. C. (2006). The socio-educational model of second language acquisition: A research paradigm. EUROSLA Yearbook, 6(1), 237-260.
Hattie, J. (2009). Visible learning: A synthesis of over 800 meta-analyses relating to achievement. Routledge.
Ma, F. (2021). Factors affecting the English language preparedness of college freshman students. Journal of Language Teaching and Research, 12(2), 252-257. http://dx.doi.org/10.17507/ jltr.1202.05
Smith, J. K. (2010). The role of prior knowledge in learning from meaningful verbal learning experiences. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior, 9(3), 417-428.
Sulistiyo, U. (2018). Factors affecting English language learning in English as a foreign language (EFL) context: A literature review study. IJER, 3(1), 20 – 24. http://ijer.ftk.uinjambi.ac.id/ index.php/ijer
Syed, A.F., Hussain, I., Khan, A.R., &. Anwaar, S. (2020). Factors affecting the achievement of engineering students in English. University of Lahore Sargodha Campus, Pakistan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ