การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ หน่วยการเรียนรู้ สินค้าและบริการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274528คำสำคัญ:
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; , การคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การคิดวิเคราะห์ เรียกได้ว่าเป็นความคิดพื้นฐานสำหรับการคิดในมิติอื่น ๆ ต่อไป การคิดวิเคราะห์ทำให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ การคิดวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่คำนึงถึงแบบการเรียนและการทำงานของสมองทั้งสองซีกของผู้เรียนและผู้เรียนได้ฝึกการวิเคราะห์เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT หน่วยการเรียนรู้สินค้าและบริการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้สินค้าและบริการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หน่วยการเรียนรู้สินค้าและบริการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านโนนรัง จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์
ผลการวิจัย: (1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT หน่วยการเรียนรู้ สินค้าและบริการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80.13/80.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT มีความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรวมกิจกรรมการเรียนรู้ 4MAT ไว้ในแผนการจัดการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยได้รับคะแนนประสิทธิผลที่โดดเด่นที่ 80.13/80.10 นอกจากนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีการปรับปรุงที่มีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ 4MAT ซึ่งเกินระดับก่อนการแทรกแซงที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กกรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
กิตติยา ตาทิพย์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง พฤติกรรมของสัตว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่ายกลยุทธสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
นพมณี แสงทอง (2562). การใช้วิธีการสอนแบบ 4MAT เพื่อพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดี และวรรณกรรมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ปรียา ถาวีวร (2564) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระมหากล้องนภา สิงห์ศร (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิทวัฒน์ อันทะนัย. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการคิดวิเคราะห์ด้วยการเรียนรู้แบบ 4MAT ประกอบแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2544). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา 506703 การพัฒนาการสอนมหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศรินยา แจ่มแจ้ง และคณะ (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียน แบบ 4MAT เรื่องพื้นฐานทางเรขาคณิต ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 3 (สระกระเทียม). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9 (1), 1-12.
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพแก้งสนามนาง 1. (2565). งานประกันคุณภาพ ฝ่ายวิชาการ. นครราชสีมา : ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพแก้งสนามนาง 1.
Dunn, R., & Griggs, S.A. (1995). Multigrade instruction and learning styles: Teaching and counseling adolescents. Praeger Publishers.
McCarthy, B. (2014). 4MAT in action: Sample units for the model. About Learning, Inc.
McCarthy, M. (1990). Using the 4MAT System to Bring Learning Styles to Schools. Educational Leadership. 48 (2), 31-37.
Nicoll-Senft, J. (2010). Assessing the Impact of the 4MAT Teaching Model Across Multiple Disciplines in Higher Education. College Teaching, 58(1), 19-27
Oltman, P.K., Klos, L.A., & Bovbjerg, D.H. (1997). A meta-analysis of the effect of 4MAT on student achievement. Educational and Psychological Measurement, 57(4), 659-669.
Stewart, M., & Felicetti, L. (1992). Teaching and learning in the middle grades. Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ