วงจรชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชนินทร สวณภักดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี https://orcid.org/0009-0002-9739-7560

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274509

คำสำคัญ:

แรงงานชาวกัมพูชา;, ทุนทางสังคม

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: แรงงานชาวกัมพูชามีแนวโน้มจะอยู่อาศัยในประเทศไทยได้นานขึ้น ส่งผลถึงการจัดสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานถูกกฎหมาย ข้อมูลบุคคลของแรงงานชาวกัมพูชาจะทยอยเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้แรงงานชาวกัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งที่จะได้รับผลจากนโยบายทางด้านแรงงาน สวัสดิการสังคมของไทย และอาจนำไปสู่นโยบายด้านการเงินและนโยบายอื่น ๆ ได้อีกในอนาคต ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิถีชีวิตการเป็นแรงงานต่างด้าวของชาวกัมพูชาในประเทศไทย (2) เพื่อวิเคราะห์วงจรชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา

ระเบียบวิธีการวิจัย: ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสังเกต สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ สัมภาษณ์เชิงลึก และสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลเป็นแรงงานชาวกัมพูชาจำนวน 4 คน และผู้ดูแลชุมชนคนไทย 1 คน ใช้แนวคำถามในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ผลร่วมในการสังเกตสัมภาษณ์และวิเคราะห์ผลตามแนวคิดทฤษฎีเพื่อสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัย: (1) มีการนำเสนอภาพรวมการทำงาน การหารายได้ การใช้จ่ายและระบบดูแลทางสังคมของแรงงานชาวกัมพูชาในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย (2) วิเคราะห์วงจรการใช้ชีวิตในสถานะของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา การเป็นหนี้จำนวนมากทำให้แรงงานต้องยืดเวลาอยู่ในประเทศไทยออกไปนานขึ้น โดยขึ้นอยู่กับภาระหนี้ซึ่งคิดเป็นรายหัวตามค่าเอกสารใบอนุญาตทำงาน จำนวนเงินที่ต้องส่งกลับไปเลี้ยงดูครอบครัวที่กัมพูชาระหว่างการทำงานในประเทศไทย และเป้าหมายของการเก็บออมเงินของแรงงานแต่ละครอบครัว สรุปผลได้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นในการทำงานเป็นแรงงานต่างด้าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการต้องปรับตัวทั้งแรงงานและระบบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวของไทย

สรุปผล: ผลการวิจัยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตคนงานชาวกัมพูชา ครอบคลุมถึงพลวัตของการทำงาน พฤติกรรมทางการเงิน และระบบสนับสนุนทางสังคม ทั้งในกัมพูชาและไทย การวิเคราะห์ยังเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่สำคัญของหนี้จำนวนมากต่อวงจรชีวิตของคนงานเหล่านี้ กระตุ้นให้อยู่ในประเทศไทยนานขึ้น และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนระบบการจัดการแรงงานของประเทศไทยเพื่อจัดการกับความซับซ้อนเหล่านี้

References

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2559). ระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์: ราชอาณาจักรกัมพูชา. Retrieved on 30 Nov. 2023 from: https://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://aec.dpim.go.th/mineraldata/document/Chapter/INV59-Cambodia_Chapter7.pdf.

กองเศรษฐกิจการแรงงาน. (2566). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์และอุปทานแรงงานระดับประเทศ ปี 2566. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการแรงงาน กระทรวงแรงงาน.

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ. (2566). กัมพูชา. Retrieved on 30 Nov. 2023 from: https://almanac.nia.go.th/world/almanacpage/1/.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Goeteborgs Stad. (2019). Interesting information about Sweden - an easy-to-read Swedish social learning guide. Retrieved on 1 Dec. 2023 from: https://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.thaiwise.se/wp-content/uploads/2019/10/สาระน่ารู้เกี่ยวกับสวีเดน.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-03

How to Cite

สวณภักดี ช. . (2024). วงจรชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในประเทศไทย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 153–164. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274509

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ