การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ผจญภัยระบบนิเวศในโลกกว้างและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • ภาณุวัฒน์ เวียงสุข นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นครราชสีมา 30000 https://orcid.org/0009-0006-4188-1280
  • วาสนา กีรติจำเริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นครราชสีมา https://orcid.org/0000-0001-8908-7242

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274006

คำสำคัญ:

แนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; , จิตวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม (Science, Technology, Society and Environment หรือ STSE) มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ในการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันและนำไปสู่การนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างมิติของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมได้ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ผจญภัยระบบนิเวศในโลกกว้าง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ผจญภัยระบบนิเวศในโลกกว้างของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 18 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนภูพระวิทยาคม ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง และเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และ Kolmogorov-smirnov test

ผลการศึกษา: 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ผจญภัยระบบนิเวศในโลกกว้าง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 3) จิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทั้งภาพรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผล: การนำแนวทางการเรียนรู้ไปใช้ตามหลักการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มผลการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญ ผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติพบได้ในวิชาต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้แบบผจญภัยที่เกี่ยวข้องกับระบบสิ่งแวดล้อม โดยรวมแล้ว การค้นพบนี้ตอกย้ำถึงผลกระทบเชิงบวกของการผสมผสานมุมมองทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้ากับหลักสูตร ซึ่งมีส่วนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นในหมู่นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3

References

กนกกร ทองน้อย และนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เรื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(12), 213-214.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กิติพงษ์ ลือนาม. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ดวงใจ บุตรหนองแสง และสมบูรณ์ ตันยะ. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้สารชีวโมเลกุลและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 11(3), 53-66.

ดวงสมร อ่องแสงคุณ. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการสาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง). คุรุสภาวิทยาจารย์. 2(3), 15-26.

ปัณฑิตา กรรณิการ์. (2562). การพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปี ที่ 5 รายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยรังสิต.

พัชรินทร์ บัวสิน, และกนกพร ฉายะบุระกุล. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุ์พืชดอก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยรังสิต.

พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

โรงเรียนภูพระวิทยาคม. (2562). หลักสูตรสถานศึกษา. ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. Retrieved on 20 November 2022, from: http://scimath.org/e-books/8923/flippingbook/index.html

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.

สุนันท์ สีพาย. (2564) การพัฒนาเครื่องมือรวบรวมข้อมูลการวิจัยทางการศึกษา. ชัยภูมิ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

อรรญา จุ้ยนคร, ดวงเดือน สุวรรณจินดา, และทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรธรณี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระแสงวิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8, วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Aikenhead, G. (1996). Consequences to Learning Science Through STS: STS Education. New York: Teacher College Press.

Budi.A P S., Sunarno .W., & Sugiyarto. (2018). Natural science modules with SETS approach to improve students’ critical thinking ability. Journal of Physics: Conference Series; Bristol, 1022(1), 1-9.

Carin, A. (1997). Teaching Modern Science. 7th ed., New Jersey: Prentice-Hall.

Fraser BJ. (1978). Development of a test of science-related attitude. Science education, 62(4), 509 - 515.

Gresch, H., Hasselhorn, M., & Bogenholz, S. (2015). Enhancing Decision-Making in STSE Education by Inducing Reflection and Self-Regulated Learning. Research in Science Education, 47(1), 95-118.

Klaynin, S. (2012). The science education in Thailand: developing and deterioration. Samutprakarn: Advance printing service.

Novi, M., Hasanuddin, H., & Cut, N. (2017). The effect of Science, Technology, Society, Environment (STSE) Model in Critical Thinking Skill and Student Achievement in Matter Environmental Pollution at MAS JEUMALA ‘AMAL. Jurnal EduBio Tropika, 5(1), 1-53.

Nuray,Y., Inci,M., & Nilgun,S. (2009). The effects of science, technology, society and environment (STSE) education on students’career planning (online). Retrieved January 15, 2023, from: http://www.eric.ed.gov/ERICDocs/data/ericdocs2sql/content_storage_01/0000.html

Pedretti, E. (2005). STSE education: Principles and practices. in Aslop S., Bencze L., Pedretti E. (eds.) Analyzing exemplary science teaching: Theoretical lenses and a spectrum of possibilities for practice Maidenhead. Open University, McGraw-Hill Education.

Richardson, G., & Blades, D. (2000). Social studies and science education: Developing world citizenship through interdisciplinary partnerships. Canada’s National Social Studies Journal, 35(3), 10-22.

Rika, U., Abdul, H., & Hafnati,R. (2019). Science Environmental Technology and Society-based Module Development on Petroleum Chemistry to Enhance Student Learning Achievement. Journal of Innovation in Science and Mathematics, 7(2), 2347–9051.

Robert, E.Y. (2007). STS Requires Changes in Teaching. SAGE Journals, 27(5), 386-390.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-03

How to Cite

เวียงสุข ภ., & กีรติจำเริญ ว. (2024). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ผจญภัยระบบนิเวศในโลกกว้างและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 91–108. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274006

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ