กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • อนุราช เพิ่มสิน นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม https://orcid.org/0009-0000-9465-1637
  • ศิวพร เสาวคนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม https://orcid.org/0009-0001-8596-2203
  • สุธี อยู่สถาพร หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม https://orcid.org/0009-0001-0143-6100

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273799

คำสำคัญ:

กฎหมายต้นแบบ; , การประกอบธุรกิจ; , การให้บริการดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การให้บริการดูแลผู้สูงอายุในสถานบริการ ผู้ประกอบการให้บริการที่พักและการดูแลให้แก่ผู้สูงอายุซึ่งพักในสถานบริการดังกล่าว สถานบริการบางแห่งก็ให้บริการเฉพาะการดูแลส่วนบุคคล รูปแบบของการให้บริการดูแลผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนนอกเหนือจากที่กำหนดเพียงรูปแบบการให้บริการดูแลผู้สูงอายุในสถานบริการและการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ดังนั้นการวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (4) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม

ผลการศึกษา: จากการใช้ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดในการวิเคราะห์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุนั้น พบว่าพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 กฎกระทรวง กำหนดให้กิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2563 ระเบียบกรมกิจการผู้สูงอายุว่าด้วยการให้บริการผู้สูงอายุ พ.ศ. 2558 ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ทำให้ขาดหลักเกณฑ์การควบคุมผู้ทำหน้าที่ในการดูแลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่มีมาตรฐาน การติดตามการประกอบธุรกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ และขาดหน่วยงานใดเฉพาะที่ทำหน้าที่ในการติดตามการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ส่งผลให้การประกอบธุรกิจดังกล่าวดำเนินไปอย่างเสรี ปราศจากการติดตามผลการดำเนินการใด ๆ ซึ่งเป็นช่องว่างให้ผู้ประกอบการบางรายประกอบธุรกิจในทางที่มิชอบ และทำให้ผู้สูงอายุได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรือชีวิต และครอบครัวของผู้สูงอายุนั้นต้องสูญเสียรายได้จำนวนมาก แต่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานการดูแลตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา

สรุปผล: การวิจัยครั้งนี้จึงได้เสนอกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ พ.ศ. .... ซึ่งประกอบด้วย (1) คำนิยาม (2) หมวด 1 คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (3) หมวด 2 การจดทะเบียนและขอใบอนุญาต (4) หมวด 3 หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ และผู้ให้บริการเกี่ยวกับการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (5) หมวด 4 คณะกรรมการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (6) หมวด 5 บทลงโทษ

References

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

ปรีชญา รัตนนันทนาถ และสุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์. (2564). การเปรียบเทียบระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงธุรกิจที่พักอาศัยให้เช่าในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 15 (1), 286-303.

ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์ และคณะ. (2563). นวัตกรรมในการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9 (2), 47-54.

มณีรัตน์ กุลวงษ์ และคณะ. (2559). รูปแบบการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (1), 165-174.

เมธี จินะโกฎิ และ การันต์ พงษ์พานิช. (2561). การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจในผู้สูงอายุและการจัดการทำกายภาพบำบัดทรวงอก. เวชสารแพทย์ทหารบก. 71 (4), 279-284.

ยุวดี รอดจากภัย และ กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2560). การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรจนศักดิ แสงธศิริวิไล และ ชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์. (2560). การพัฒนาธุรกิจการบริการดูแลสุขภาพ ตามความคาดหวังของผู้สูงอายุเพื่อการบริการในอนาคตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 12 (2), 71-92.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง. (2556). คู่มือการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

สุนีย์ เครานวล และคณะ. (2563). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยบูรณาการการมีส่วนร่วมในชุมชนภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม เทศบาลตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณบำรุงการศึกษาประจำปี 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

Care Standards Act 2000. (2565). Care Standards Act 2000. Retrieved on 15 June 2022 from: https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2000/14/contents.

Older American Act. (2565). UNOFFICIAL COMPILATION OF THE OLDER AMERICANS ACT OF 1965 As Amended In 2006 (Public Law 109-365). Retrieved on 15 June 2022 from: https://health.hawaii.gov/eoa/files/2013/07/oaa1.pdf

Private Hospital and Medical Clinic Act 1980. (2565). THE STATUTES OF THE REPUBLIC OF SINGAPORE PRIVATE HOSPITALS AND MEDICAL CLINICS ACT (CHAPTER 248). Retrieved on 15 June 2022 from: https://www.moh.gov.sg/docs/librariesprovider8/resources/e-1-savings-and-transitional-provisions_30dec21.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-03

How to Cite

เพิ่มสิน อ. ., เสาวคนธ์ ศ. ., & อยู่สถาพร ส. (2024). กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 75–90. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273799

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ