ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ธัญนันท์ กันทะ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0003-2602-1504
  • สมเกียรติ เกียรติเจริญ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0009-0009-2447-3738
  • สิทธิพรร์ สุนทร สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-3195-833X

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273747

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผล; , ภาษีที่ดิน; , ภาษีสิ่งปลูกสร้าง; , เทศบาล

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การถือครองที่ดินในปัจจุบันมีการกระจุกตัวอยู่ที่คนส่วนน้อยซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างแท้จริง แต่หากมีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วอาจช่วยเพิ่มความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของคนในสังคม และลดปัญหาการเก็งกำไรหรือการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินในประเทศไทย ดังนั้นการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาระดับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครสมุทรปราการ และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครสมุทรปราการ

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนผู้มีทรัพย์สินหรือเป็นผู้ครองครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ จำนวน 373 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือ การสุ่มตามชุมชนและสุ่มแบบง่าย ใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิงประเภทการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย 1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเทศบาลนครสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเทศบาลนครสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้ง 6 ด้านเรียงตามลำดับ คือ ปัจจัยการบริการ ปัจจัยครอบครัวหรือคนใกล้ชิดของผู้เสียภาษี ปัจจัยเสียภาษี ปัจจัยการประชาสัมพันธ์ ปัจจัยพนักงาน ปัจจัยเทคโนโลยีและปัจจัยสถานที่ มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเทศบาลนครสมุทรปราการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 4) มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ เทศบาลนครสมุทรปราการควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับการการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง ควรเพิ่มจำนวนพนักงานให้เพียงพอต่อการให้บริการ และจัดให้มีการอำนวยความสะดวกในการชำระภาษีหลายช่องทางเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2563). พระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 30 ก ลงวันที่ 12 มีนาคม 2562

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2564). การสำรวจเชิงวิพากษ์เก่ียวกับองค์ความรู้ด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นใน ประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์, 51(1), 1-25.

ณัฐฌากร ถิรวัฒนพร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 3(4), 1-14.

ดวงพร บุญเลี้ยง. (2562). ข้อกังวลในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 13(46), 13-23.

ดาวนภา เกตุทอง. (2562). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสารมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(2), 46-57.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2560). การกระจายอำนาจทางการคลัง: ปัญหาและแนวทาง แก้ไข”. วารสารสถาบัน พระปกเกล้า, 5(1), 104-117.

บดินทร์ธร บัวรอด. (2565). การเตรียมความพร้อมการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนคร ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา, 7(1), 175-191.

พิทักษ์พงษ์ ชัยคช. (2564). การศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดตรัง.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 107-113.

มายามีน หวันฮัซซัน. (2563). ความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนราธิวาส. การประชุมหาดใหญ่ วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11.

วราภรณ์ ธรรมาภิสมัย และ ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม. (2563). ความพร้อมในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น. วารสารพัฒนาการเรียนรู้ยุคใหม่, 5(6), 246-260.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2565). การวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่มีต่อ รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายภาระภาษี. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 39(2), 187-214.

สำนักงานเทศบาลนครสมุทปราการ. (2565). ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562. Retrieved from: https://www. samutprakancity.go.th/.

สุภาภรณ์ ตะวันใกล้รุ่ง. (2562). สถานการณ์ด้านความร้คูวามเข้าใจของประชาชนอันมีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรชัย เดชพงษ์. (2562). พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 แนวคิดที่เปลี่ยนแปลงและ ผลกระทบต่อผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(1), 42-54.

อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง.วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(2), 49-69.

อำนวย สังข์ช่วย. (2564). ปัญหาอุปสรรคและผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 287-300.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-03

How to Cite

กันทะ ธ., เกียรติเจริญ ส., & สุนทร ส. . (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครสมุทรปราการ. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 121–134. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273747

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ