กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273685คำสำคัญ:
กลยุทธ์; , การบริหารวิชาการ; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างซึ่งปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียนและตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลนั้นถูกสร้างขึ้นโดยกลยุทธ์การจัดการทางวิชาการที่มีประสิทธิผล ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมความสำเร็จทางวิชาการโดยรวม โรงเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาอย่างเป็นระบบผ่านการใช้การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การแทรกแซงแบบกำหนดเป้าหมาย และการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ทดลองใช้ และประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ วิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ (1) สร้างกลยุทธ์ โดยการศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญยกร่างและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน (2) ทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กับครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 959 คน ในปีการศึกษา 2564 (3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จากครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 49 คน ปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปข้อมูล
ผลการวิจัย: (1) กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดประสงค์ กลยุทธ์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การยกระดับคุณภาพวิชาการ กลยุทธ์ที่ 2 การยกระดับคุณภาพผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 4 การปรับปรุงสื่อและแหล่งเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดการศึกษา และนัยสำคัญที่ได้รับจากการพัฒนา ได้แก่ นัยสำคัญตรง (Output) คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และภาษาต่างประเทศ (2) ผลการทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ พบว่า ปีการศึกษา 2564 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 71.80 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2563 เท่ากับ 1.2 ผลการใช้กลยุทธ์ มีดังนี้ (2.1) ผลการยกระดับคุณภาพวิชาการ พบว่า หลักสูตรสถานศึกษามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น มีการจัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสามารถและความสนใจ ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง (2.2) ผลการยกระดับคุณภาพผู้เรียน พบว่า นักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถ ลงมือปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน มีนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า มีทักษะความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะและตั้งคำถามเพื่อค้นหาความรู้เพิ่มเติม ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนาตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียน (2.3) ผลการส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย พัฒนาตนเอง และนำความรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (2.4) ผลการปรับปรุงสื่อและแหล่งเรียนรู้ พบว่า มีจัดหาสื่อและนวัตกรรมการศึกษาให้เพียงพอ มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษา และนำสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น (2.5) ผลการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดการศึกษา พบว่า ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาการระดมทรัพยากร และกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน (3) ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ พบว่า โดยรวมมีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
สรุปผล: การนำเทคนิคการจัดการวิชาการเชิงกลยุทธ์ไปใช้ที่โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร รวมถึงการพัฒนาทรัพยากร การปรับปรุงการเรียนการสอน การเพิ่มขีดความสามารถของนักเรียน การพัฒนาครู และการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิผล กลยุทธ์เหล่านี้ช่วยให้ปีการศึกษา 2022–2023 ทะลุเป้าหมายก่อนหน้านี้ และแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมอยู่ที่ 71.80
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ :กระทรวงศึกษาธิการ.
จักรกฤษณ์ ภู่พงษ์พัฒน์ สุภาพ ผู้รุ่งเรือง และประหยัด ภูมิโคกรักษ์. (2564). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดใหม่ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
ทัศพร ปูมสีดา. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
เทพสุดา เมฆวิลัย. (2563). กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,กรุงเทพฯ.
โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร ปีการศึกษา 2563-2564. กาฬสินธุ์: โรงเรียน.
โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร. (2564). รายงานผลการดำเนินตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. กาฬสินธุ์: โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร.
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ และคณะ. (2560). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นภาคตะวันออก. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 221-234.
สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2559). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 3. กำแพงเพชร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สราวุฒิ กันเอี่ยม. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สิริมา เปียอยู่ สุภาพร พงศ์ภิญโญโอกาส และขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 12(1), 260-274.
อิฏฐิรา ทรงกิติพิศาล. (2563). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดสมรรถนะ ภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
Anderson, T. (2016). Theories for Learning with Emerging Technologies (pp. 35-64). Canada: Athabasca University Press.
Bush, T., & Middlewood, D. (2013). Leading and Managing People in Education. SAGE Publications.
Epstein, J. L., Sanders, M. G., Sheldon, S. B., Simon, B. S., Salinas, K. C., Jansorn, N. R., ... & Hutchins, D. J. (2009). School, Family, and Community Partnerships: Your Handbook for Action. Corwin Press.
Guskey, T. R. (2002). Professional Development and Teacher Change. Teachers and Teaching: Theory and Practice, 8(3), 381-391.
Hernthaisong, P., Sirisuthi, C., & Wisetrinthong, K. (2017). Development of Participative Management System in Learning Environment Management for Small-Sized Primary Schools. International Education Studies, 10(2), 166-173.
Kelly, P. (2016). Qualitative comparative research on teaching. Research in Comparative and International Education, 11(4), 354-356. https://doi.org/10.1177/1745499916679556
LaTurner, J., & Lewis, D. (2013). Managing the implementation of school improvement efforts. SEDL Insights, 1(2), 1-6.
Mandinach, E. B., & Gummer, E. S. (2016). Data-Driven Decision Making in Education: Lessons from Five Years of Evidence. Teachers College Press.
Matorera, D. (2018). "Quality Management Systems in Education," Chapters, in: Leo Dimitrios Kounis (ed.), Quality Management Systems - a Selective Presentation of Case-studies Showcasing Its Evolution, IntechOpen.
Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2018). Curriculum: Foundations, Principles, and Issues. Pearson.
Shannon, G. & Bylsma, Pete. (2007). Nine Characteristics of High-Performing Schools: A Research-Based Resource for Schools and Districts to Assist with Improving Student Learning. Second Edition. Washington Office of Superintendent of Public Instruction.
Skanson, M. (2006). Mindful Collaboration to Influence School Improvement. DOCTOR OF EDUCATION Thesis: UNIVERSITY OF MINNESOTA.
Stern, T. (2014). What Is Good Action Research? Considerations About Quality Criteria. In: T. Stern, A. Townsend, F. Rauch & A. Schuster (Eds.), Action Research, Innovation and Change: International perspectives across disciplines. London, UK: Routledge.
Vlasic, S., Vale, S., & Puhar, D. (2009). Quality Management in Education. Interdisciplinary Management Research. 5, 565-573.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ