ระบำพิมายปุระ : นาฏยกรรมจากโบราณสถานสู่การสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อชุมชนพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273632คำสำคัญ:
ระบำพิมายปุระ; , นาฏยกรรม; , คุณค่าบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ระบำพิมายปุระเป็นการสร้างสรรค์นาฏยกรรมจากโบราณสถานที่สืบทอดมายาวนานมากกว่า 3 ทศวรรษ และมีบทบาทสำคัญต่อชุมชนพิมายทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านจิตใจของมนุษย์ ด้านความสามัคคี และอื่น ๆ แต่ไม่สามารถระบุหรือบ่งบอกที่มาของการแสดงรวมไปถึงคุณค่าของการแสดงได้อย่างชัดเจนจากเอกสารหรืองานวิจัย การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา รูปแบบ และองค์ประกอบของการแสดงระบำพิมายปุระ และ 2) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของการแสดงระบำพิมายปุระที่มีต่อชุมชนพิมาย
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพที่ผูวิจัยไดทำการรวบรวมขอมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวของและขอมูลภาคสนาม จากนั้นทำการสรุปวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากประชากรในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนคราราชสีมา และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือกลุ่มผู้รู้ (Key Informants) จำนวน 2 คน นักแสดงหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติ (Casual Informants) จำนวน 10 คน ตัวแทนชุมชนหรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป (General Informants) จำนวน 10 คน เยาวชน (Young Person Informants) จำนวน 10 คน ผู้นำทางศาสนา จำนวน 2 คน (Religious Leader Informants) รวมทั้งสิ้น 39 คน และเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย: 1) ระบำพิมายปุระเป็นระบำเชิงโบราณคดีที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2531 จากจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์การแสดงที่นำเสนอเอกษณ์ประจำท้องถิ่น ของนางวรรณี อมัติรัตนะ โดยกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงจำเป็นต้องศึกษาและรวบรวมข้อมูลทั้งในระดับนามธรรมและรูปธรรมเสียก่อนจึงสามารถประมวลผลและออกแบบนาฏยศิลป์ 2) ระบำพิมายปุระมีคุณค่าต่อชุมชนพิมาย ทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านจิตใจ ด้านความเชื่อ และด้านเศรษฐกิจ
สรุปผล: ระบำพิมายปุระเป็นนาฏยประดิษฐ์จากหลักฐานทางโบราณคดี (ปราสาทหินพิมาย) และแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์การแสดง ที่มีคุณค่าต่อชุมชนพิมายในด้านวิชาการ สังคมและวัฒนธรรม จิตใจ ความเชื่อ และเศรษฐกิจ
References
จุติกา โกศลเหมมณี. (2556). รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ของนราพงษ์ จรัสศรี. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพล จำเริญทอง. (2565). การสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ระบำโบราณคดีของกรมศิลปากร. วารสารดนตรีและการแสดง. 7(2), 132-148.
นราพงษ์ จรัสศรี. (2556). รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ของนราพงษ์ จรัสศรี (สัมภาษณ์). หัวหน้าภาควิชานากศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 10 เมษยายน 2556
พรเทพ บุญจันทร์เพ็ชร์. (2558). ประวัตินาฏศิลป์ไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ. (2565). สุนทรียภาพในระบําโบราณคดี. วารสารจันทรเกษมสาร. 24(46), 17-29.
ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย. (2566). อัตลักษณ์ทับหลังปราสาทพิมาย สู่ศิลปะสกุลช่างพิมาย. ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง โครงการเสวนาวิชาการงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2566. (น. 4). นครราชสีมา: ม.ป.พ.
วรรณี อมัติรัตนะ. (2566), การแสดงระบำพิมายปุระ (สัมภาษณ์). ผู้สร้างสรรค์การแสดงระบำพิมายปุระ. 9 พฤศจิกายน 2566.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2564). พิมายดำ : การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมยุคเหล็กในอนุทวีปอินเดียสู่การรับ ปรับ และส่งต่อ สืบทอดในท้องถิ่นอันห่างไกล. Retrieved on 10 November 2023 from: http://https://walailaksongsiri.com/2021/04/09/phimai-black/.
ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง. (2562). "คติชนสร้างสรรค์" บทวิเคราะห์และทฤษฏี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์,หม่อมราชวงศ์. (2537). ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย: ภูมิหลังทางปัญญา-รูปแบบทาง ศิลปกรรม. กรุงเทพฯ: มติชน.
อโนทัย ส้มออ่ำ . (2563). คุณค่าของระบําลีลาลายสังคโลกที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 17(1), 11-19.
อารยะ มนูญศักดิ์. (2561). การวิจัยสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรื่อง ดินสาระความงามปราสาทหินพิมาย. NRRU Community Research Journal. 12(3), 104-113
Bascom, W. (1954). Four functions of folklore. The Journal of American Folklore. 67(266), 333-349.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ