การสร้างแบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273510คำสำคัญ:
ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน; , ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม; , ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ; , การก้าวเป็นจังหวะ,บทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุแระสงค์: ทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาไทยที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทักษะที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างยิ่งนั้นคือ การอ่าน เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การรู้จักฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผู้อ่านมีพื้นฐานในการอ่านที่ดี ทั้งจะช่วยให้เกิดความชำนาญและมีความรู้กว้างขวาง ดังนั้นการวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างแบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านการอ่านและตรวจสอบคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 3) เพื่อศึกษาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียน 700 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านการอ่านสร้างตามแนวทาง PISA ครอบคลุมสมรรถนะ 3 ประการ ได้แก่ รู้ตำแหน่งข้อสนเทศในเนื้อเรื่อง (Locate information) มีความเข้าใจในเนื้อเรื่อง (Understand) และ ประเมินและสะท้อนความคิดเห็นต่อเนื้อเรื่อง (Evaluate and Reflect) มีลักษณะเป็นแบบทดสอบเชิงสถานการณ์ ประกอบด้วย ข้อสอบแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก และอัตนัย รวมทั้งสิ้น 15 ข้อ วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม และทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ด้วยโมเดล Gerneralized Partial Credit Model (GPCM) และศึกษาความฉลาดรู้ด้านการอ่านโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: (1) แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจำนวน 5 สถานการณ์ 60 ข้อ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.80-1.00 เมื่อวิเคราะห์คุณภาพโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.79 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.75 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแบบเลือกตอบมีค่าเท่ากับ 0.89 และแบบทดสอบอัตนัยมีค่า เท่ากับ 0.87 (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบด้วยโมเดล G-PCM ข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์ มีค่าพารามิเตอร์ความชัน (αi) ตั้งแต่ 0.95 ถึง 2.50 ค่าพารามิเตอร์ระดับขั้นความยากของการตอบ (δij) δ1 ตั้งแต่ -0.64 ถึง -0.08 และ δ2 มีค่าตั้งแต่ 0.08 ถึง 0.64 สารสนเทศของข้อสอบของทั้ง 3 สมรรถนะมีค่าสูงสุดที่ระดับความสามารถ (θ) เท่ากับ -1.2, -0.4 และ -0.4 และสารสนเทศของแบบทดสอบของทั้ง 3 สมรรถนะสูงสุดที่ระดับความสามารถของผู้ตอบ (θ) เท่ากับ -0.8, -0.8 และ -0.4 (3) ผลการศึกษาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความฉลาดรู้ด้านการอ่านระดับสูงทั้ง 3 สมรรถนะ
สรุปผล: แบบทดสอบที่สร้างมีความเหมาะสมและคุณภาพดีตามดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.80-1.00 โดยมีความยากง่ายของข้อสอบและความอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.43-0.79 และ 0.30-0.75 ตามลำดับ นอกจากนี้ การตรวจสอบคุณภาพด้วยโมเดล G-PCM แสดงค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมและพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความฉลาดรู้ด้านการอ่านระดับสูงในทุกสมรรถนะ.
References
ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญนิธิ คัสกุล. (2563). การสร้างแบบวัดทักษะที่จําเป็นสําหรับการถูกจ้างงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2564). แนวทางดําเนินงานประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ป.3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ป.1 ปีการศึกษา 2563. Retrieved from: https://bet.obec.go.th/wp-content/uploads/2021/02/NT-RT-2563.pdf
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันภาษาไทย. (2559). หลักการสะกดค่าภาษาไทย. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ตัวอย่างข้อสอบการประเมินผลนานาชาติ PISA: การอ่าน. กรุงเทพฯ: ห้างหุุ้นส่วนจํากัดอรุณการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ข้อค้นพบจาก PISA 2018: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับผลการประเมินด้านการอ่าน. Retrieved from: https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-55/
สํานักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้= (Literacy) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สํานักงานราชบัณฑิตยสภา.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2541). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคําแหง.
Muraki, E. (1992). A generalized partial credit model: Application of an EM algorithm. Applied Psychological Measurement, 16, 159–176.
Muraki, E. (1993). INFORMATION FUNCTIONS OF THE GENERALIZED PARTIAL CREDIT MODEL. ETS Research Report Series. https://doi.org/10.1002/j.2333-8504.1993.tb01538.x
OECD. (2017). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework: science, reading, mathematics, financial literacy, and collaborative problem-solving. Retrieved from http://doi.org/10.1787/19963777.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Kanyakit Silapacharoen, Panida Sakutanak, Manaathar Tulmethakaan

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ