การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273462คำสำคัญ:
แนวคิดไฮสโคป; , ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์; , เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์ : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เกิดขึ้น จากประสบการณ์และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเด็ก เรียนรู้ผ่านสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดประเภท การเรียงลำดับ การวัด การบอกตำแหน่ง และการนับ ทักษะเหล่านี้เป็นผลมาจากกิจกรรมที่เด็กทำในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กพัฒนาความละเอียดถี่ถ้วนในการคิด และรู้จักใช้การคิดอย่างมีเหตุผลและการแก้ปัญหา ทั้งยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับที่ซับซ้อนขึ้นต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนกับหลังใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป
ระเบียบวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนโคกลำพานวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป จำนวน 10 แผน และแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย : 1) คะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป คิดเป็นร้อยละ 34.20 หลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป คิดเป็นร้อยละ 82.40 2) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลัง สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล : การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปมีผลทำให้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ลงมือปฎิบัติผ่านการสังเกต การวัดความยาว และเปรียบเทียบขนาดของวัตถุต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบสบุคส์.
ณัฎฐา มหาสุคนธ์. (2561). การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
นิวัฒน์ สาระขันธ์ (2564). สอนอย่างไรให้นักเรียนเกิทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์, Joum Roi Kaensarn Academi. 6 (4), 202-218.
ผกาสินี ทวนทอง, สุนีรัตน์ แสงคุ้ม, & วไลพร เมฆไตรรัตน์. (2565). ผลการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา โดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตคิดสนุกที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 6(2), 51-61.
วรนาท รักสกุลไทยและคณะ. (2554). สุดยอดเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : เพาเวอร์ พรินท์.
ศิราณี จันทร์บุตร. (2562). การพัฒนาทักษะทางคณิดศาสตร์ของเด็กปฐมวัยผ่านการเล่นโดยใช้ชุดสื่อกิจกรรม "คณิตคิดส์" (ปริญญาศึกษาศาสตร์บัณฑิต) สุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. สืบค้นจาก https:/wbscport.dusit.ac.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
อรัญญา บุญรักษ์, สุกานดา พันตาเอก, จำลองลักษณ์ เสียงสนั่น และสมใจ ภูครองทุ่ง (2566). ผลการใช้กิจกรรม เสริมประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 8(5), 239-250.
อรุณี หรดาล. (2550). แนวการจัดประสบการณเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Ministry of Education New Zealand. (2017). Decentralization in New Zealand. Retrieved October 10, 2017, from: https://www.edweek.org/ew/articles/2011/11/01/kappan evin.tm
Piaget, J. (1970). Science of Education and the Psychology of the Child. New York: Orion Press.
Piaget. J. (1962). The Original of Intelligence in Children. Trans, by Marget Cook. New York: International University Press.
Schweinhart, L.J., Barners, H.V., & Weikart, D.P. (2002). Significant benefits: the High Scope Perry preschool project study through age 27. Ypsilanti, MI: High Scope.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Natnicha Saoraksa

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ