ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273286คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ;, ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล;, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ภาวะผู้นำดิจิทัล คือ ทักษะที่ผู้นำในยุคดิจิทัลต้องมีเพื่อสามารถนำพาองค์กรให้ดำรงอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการบริหารงาน เพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประทิธิภาพและเกิดประสิทธิผล ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาและขนาดของสถานศึกษา
ระเบียบวิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,763 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 337 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ t-test
ผลการวิจัย: (1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล จำแนกตามระดับการศึกษา ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผล: การวิจัยเผยให้เห็นความเป็นผู้นำในยุคดิจิทัลโดยรวมในระดับสูงในหมู่ผู้บริหารการศึกษา นอกจากนี้ การวิเคราะห์ที่เปรียบเทียบการรับรู้ของความเป็นผู้นำในยุคดิจิทัลตามระดับการศึกษาไม่ได้แสดงความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ แต่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อพิจารณาขนาดของสถาบันการศึกษาที่ระดับนัยสำคัญ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
คมสัณห์ จันสอน และอุไรสุทธิแย้ม. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 6 (2), 226 – 228.
จารุนันท์ ผิวผาง, ทัศนา ประสานตรี,และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (39), 96–108.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท.
จุฑามาศ กมล, และสุภาวดี ลาภเจริญ (2565). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตปิยมิตรสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. Journal of Roi Kaensarn Academ. 7 (8),388-403.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่ม สหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทศพล สุวรรณราช และชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7 (3), 160 –177.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปิยะ ทองมา. (2564). ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 2. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไพชยนต์ อ่อนช้อย. (2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
รุสมอ มะนอ. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 15 (1), 143 – 145.
เลอศักดิ์ ตามา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (38), 224 – 240.
วีรวัฒน์ การุณวงษ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี : การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16 (4), 216-224.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชญา โกมลวานิช. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2562). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). Retrieved On 16 November 2023 from http://www.pracharathschool.go.th/skill/detail 52232
Bauchu, T, & Bauchu, T. (2019). The Status of Digital Leadership of Education Management Administrators. Journal of Educational Studies, 13 (2), 285-294.
Hamzah, N.H., Nasir, M.K.M., & Wahab, J.A. (2021).The effects of principals’ digital leadership on teachers’ digital teaching during the COVID-19 pandemic in Malaysia. Journal of Education and e-Learning Research, 8 (2), 216–221.
HERX.asia (2019). How to be a good leader in the Digital Age. Retrieved On 16 November 2023 https://th.hrnote.asia/personnel-management/190826-good-leader- digital-age/
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.
Mihardjo, L.W.W., & Rukmana, R.A.N. (2018). Does digital leadership impact directly or indirectly on dynamic capability: Case on Indonesia telecommunication industry in digital transformation?. The Journal of Social Sciences Research [Special issue], 2, 832–841. DOI:10.32861/jssr.spi2.832.841
Sanrattana, W., & et al. (2018). Leadership for The 21st Century. Journal of Education Naresuan University, 20(1), 261–271. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/115599
Sultan, Y.H., & Suhail, K.S. (2019). The impact of significant factors of digital leadership on gamification marketing strategy. International Journal of Advance Research and Development, 4 (5), 29-33.
Sungsahachat, S. (2017). Factors Analysis of Leadership for 21st Century of School Administrators Primary Educational Service Area Office 1 Phitsanulok. Master of Education (Educational Administration). Chiang Mai University.
Wasono, L.W., & Furinto, A. (2018). The effect of digital leadership and innovation management for incumbent telecommunication companies in the digital disruptive era. International Journal of Engineering & Technology, 7 (2.29), 125 –130. DOI:10.14419/ijet.v7i2.29.13142
Zhong, L. (2017). Indicators of digital leadership in the context of K-12 education. Journal of Educational Technology Development and Exchange (JETDE), 10 (1), 27–40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Chamrat Mungfaoklang, Sangaroon Bunsri, Roseryn Ardthaisong

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ