ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.273238คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์องค์กร; , คุณภาพการให้บริการ; , ความพึงพอใจของผู้รับบริการบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: คุณภาพการให้บริการถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ที่จะส่งผลให้ผู้รับบริการเกิดความประทับใจในภาพรวมของผู้รับบริการ และพึงพอใจในการบริการ ดังนั้นผู้บริหารและบุคลากรที่มีส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ให้เกิดความมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและมีการพัฒนาเพื่อให้คุณภาพการให้บริการเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาพลักษณ์องค์กร คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์องค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์องค์กร คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ
ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: 1) ภาพลักษณ์องค์กรของโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้รับบริการของโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยภาพลักษณ์องค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ สามารถร่วมกันทำนายระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ ได้ร้อยละ 73.90 นำมาเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน ZY = .351*(IM1)+.502**(IM2) 3) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ และสามารถร่วมกันทำนายระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ ได้ร้อยละ 81.50 นำมาเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณในรูปมาตรฐาน ZY=170**(SQ1)+430**(SQ2)+088*(SQ3)+180**(SQ4)+155**(SQ2) 4) แนวทางในการพัฒนาภาพลักษณ์องค์กร คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการ โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ ได้แก่ ควรเน้นการมีจิตบริการในการทำงาน ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส และกระตือรือร้น ควรมีการจัดอาคารสถานที่ให้มีความเหมาะสม สะดวกสบาย ไม่แออัด และดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ หน่วยงานในระดับนโยบายควรมีการกำหนดนโยบายในการสร้างระบบการควบคุมคุณภาพเพื่อให้งานของโรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรออกแบบให้การบริการมีความรวดเร็ว ทันตามกำหนดเวลา ปรับปรุงรูปแบบการให้บริการให้ขั้นตอนการให้บริการที่ไม่ยุ่งยาก ให้ผู้มาใช้บริการสามารถเข้าถึงการบริการได้ง่าย
สรุปผล: โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณทั้งในภาพลักษณ์, คุณภาพบริการ, และความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจสามารถทำนายได้ที่ร้อยละ 73.90-81.50 และแนวทางพัฒนาควรเน้นจิตบริการ ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส สถานที่เหมาะสม และการควบคุมคุณภาพ.
References
กิตาวี ศุภผลศิริ. (2560). ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2554). หลักการควบคุมคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สมาคม ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
จักรกฤษณ์ โสภาค และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของผู้มารับบริการห้องจ่ายยา โรงพยาบาลค่ายสุรนารี.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชมพูนุท ศุภฤทธิธำรง. (2563). ปัจจัยที่มีผลกับความพึงพอใจและความจงรักภักดีต่อร้านเครื่องสำอางนำเข้าหลากหลายตราสินค้า (Multibrand cosmetic store) ของผู้บริโภค Gen X และ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชลลดา ไชยกุล. (2555). ภาพลักษณ์องค์กร คุณค่าตราสินค้า และความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจบริการ ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัรฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ช่อดาว เมืองพรหม. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสยาม.
ชำนาญ ชูรัตน์. (2561). ประสิทธิผลการให้บริการโรงพยาบาลพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. Journal of Administrative and Management, 6(2), 16-24.
เชิดชู อริยศรีวัฒนา. (2554). มหันตภัย 30 บาท รักษาทุกโรค. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ
ณิษา วงศ์สุตาล. (2561). ภาพลักษณ์องค์กรและการรับรู้คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระบรหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
นุชนารถ อินทโรจน์. (2553). ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในทัศนะประชาชน จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปภาวี บุญกลาง.(2560). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรณีศึกษาสาขาในเขตอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ปุณยภา พวงทับทิม. (2560). คุณภาพการบริการและความพึงพอใจโรงพยาบาล AAA อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระวิทยา อิทฺธิญาโณ (กางเกตุ). (2561). คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรวัฒน์ วิวัฒน์ปฏิภาณ. (2562). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารออมสิน กรณีศึกษา ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิจิตรา พลสำโรง และคณะ. (2561). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย ขอนแก่น.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2564). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุทธิเชษฐ์ พานเพียรศิลป์. (2558). อิทธิพลของปัจจัยคุณภาพบริการต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการคลินิกรักษาสัตว์"เมืองชลสัตวรักษ์ . วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Howard, J.A., & Sheth, J.N. (1969). The Theory of Buyer Behavior. John Wiley, New York, 12-15.
Le Thuy Ngan. (2561). อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลวิทยาลัยการแพทย์กว๋างบิ่ญ เมืองด่งเฮ้ย จังหวัดกว๋างบิ่ญ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Leblance, G., & Nguyen, N. (1996). Cues used by customers evaluating corporate image in service firms: An empirical study in financial institutions. International Journal of Service Industry Management, 7 (2), 44-56.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (1990). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.
Penchansky, R., & Thomas, J. W. (1981). The concept of access definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care, 19 (2), 127-140.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Sakon Khaiparpie, Lamai Romyen, Sanyasorn Swasthaisong

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ