ความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและการบัญชีที่มีต่อแนวปฏิบัติการควบคุมภายใน

ผู้แต่ง

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272815

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น; , บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีไทยสยามจำกัด; , การควบคุมภายใน

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การที่ฝ่ายการเงินและบัญชีจะบริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้กิจการอยู่รอดได้ ผู้บริหารต้องดำเนินการเพื่อความมั่นใจได้ว่าหน่วยงานของตนมีโครงสร้างการควบคุมภายในที่เหมาะสมและการควบคุมภายในได้รับการตรวจทาน และปรับปรุงให้ทันกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การควบคุมนั้นมีประสิทธิผลอยู่เสมอ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการควบคุมภายในฝ่ายการเงินและการบัญชีของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการควบคุมภายใน ฝ่ายการเงินและการบัญชี ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนตัว

ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย โดยเก็บข้อมูลในเดือนเมษายน 2566 มีกลุ่มประชากรเป็นพนักงานบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีไทยสยาม จำกัด จำนวนทั้งหมด 223 คน การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการควบคุมภายในของพนักงานในฝ่ายการเงินและการบัญชี อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 ซึ่งอภิปรายผลการศึกษาที่สำคัญเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการควบคุมภายใน ได้แก่ สภาพแวดล้อมการควบคุมมีค่าเฉลี่ย 2.85 โดยรวมของฝ่ายการเงินและการบัญชีอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องปรับปรุงบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางรูประบบบัญชีโดยเฉพาะด้าน พร้อมจัดสรรหาบุคลากรดังกล่าวให้เพียงพอ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับ และจัดทำระบบบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างในอนาคต การประเมินความเสี่ยงมีค่าเฉลี่ย 2.92 ฝ่ายการเงินและการบัญชีได้มีการประเมินความเสี่ยงของกระบวนการปฏิบัติการปรับปรุงทะเบียนสินทรัพย์ถาวร ในลักษณะครบวงจรโดยประเมินในกระบวนการวางแผนการควบคุมการบันทึก และจัดทำทะเบียนสินทรัพย์ถาวร การส่งทะเบียนสินทรัพย์ให้ฝ่าย/สำนักงานตรวจสอบยืนยัน การตรวจนับสินทรัพย์ถาวรและการกำหนดอัตราค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวร กิจกรรมการควบคุม มีค่าเฉลี่ย 3.02 ฝ่ายการเงินและการบัญชีได้มีการกำหนดมาตรฐานในการจัดทำแผนดำเนินการเปลี่ยนแปลง แก้ไขระบบสินทรัพย์ถาวรให้มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมีการกำหนดอนุญาตเข้าระบบ มีการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบบัญชีแยกประเภท มีการประชุมเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้อำนวยการฝ่ายพิจารณากำหนดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวร สารสนเทศและการสื่อสารมีค่าเฉลี่ย 3.28 การบริหารงาน มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบบริหารภายในให้สอดคล้องกับระบบสื่อสารภายนอก และการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนช่วยในการบริหารงานในการควบคุมระบบการบัญชีและการเงิน และได้มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ภายในองค์กร เพื่อรับรู้ข่าวสารตลอดจนการเสนอความคิดเห็นในการนำมาปรับปรุง และพัฒนากิจการของบริษัทให้ดีขึ้น และการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 3.47 ฝ่ายการเงินและการบัญชีได้ดำเนินการติดตามการดำเนินการในระหว่างปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยจัดประชุมฝ่ายบริหารทุก 3 เดือน พร้อมการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนในที่ประชุมมีการประเมินผลการควบคุมด้วยตนเองปีละครั้ง และประเมินผลโดยผู้ตรวจสอบอิสระเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ทางบริษัทได้กำหนดไว้

สรุปผล: ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการควบคุมภายในของฝ่ายการเงินและการบัญชีในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยที่ 3.11 โดยมีการอภิปรายผลการศึกษาที่สำคัญ เช่น สภาพแวดล้อมการควบคุมที่ต้องปรับปรุง การตรวจสอบความเสี่ยง และการบริหารงาน ซึ่งรวมถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงาน และมีการประเมินผลการควบคุมด้วยตนเองและผู้ตรวจสอบอิสระปีละครั้งเพื่อรักษามาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนดไว้

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565). การควบคุมภายใน. Retrieved from: http://www.cad.go.th/

จันทนา สาขากร. (2565). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิพันธ์ โชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2564). การสอบบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรัญญา ทั้งสุข. (2561). การประเมินผลการควบคุมภายใน และแนวทางการพัฒนาระบบการควบคุมภายในของเทศบาลในเขตจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

หาซูรี โตะตาหยง. (2562). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อรญา เหง่าศิลา. (2562). การควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Committee on Auditing Procedures. (2022). Practical guidance for local authorities and police. The Chartered Institute of Public Finance and Accountancy

Wanitbuncha, K. (2014). Structural equation modeling analysis by AMOS. Chulalongkorn University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-07

How to Cite

สงสระบุญ ร., พรหมสาระเมธี เ. ., อินทวงศ์ อ. ., รัตรสาร ช. ., เบ็ญจวรรณ์ ส. ., สังข์สวัสดิ์ จ. ., & ธีระศรีสมบัติ ส. . (2023). ความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและการบัญชีที่มีต่อแนวปฏิบัติการควบคุมภายใน. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(6), 1021–1034. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272815