การประเมินความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272662คำสำคัญ:
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์; , ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์; , ทักษะที่เกี่ยวข้องกับสาระทางคณิตศาสตร์; , การประเมินความต้องการจำเป็นเด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆ รอบตัว คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต การส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงสภาพที่ควรจะเป็นและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในแนวทางในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายคือ ครูระดับปฐมวัย 22 คนและครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ 13 คน รวม 35 คน ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักเขตบางคอแหลมเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก (0.28) รองลงมา คือ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับสาระทางคณิตศาสตร์ (0.25) และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (0.19) ในส่วนของความต้องการจำเป็นในแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ระหว่างการจัดประสบการณ์ มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก (0.24) รองลงมา คือ หลังการจัดประสบการณ์ (0.23) และเตรียมการก่อนการจัดประสบการณ์ (0.22)
สรุปผล: การวิจัยยืนยันว่าการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัยสำคัญที่สุดในด้านความจำที่จำเป็น โดยมีการจัดลำดับความสำคัญสูงสุดเป็นทักษะนี้ (0.28), ทั้งนี้, ประสบการณ์ในระหว่างการเรียนรู้ถูกระบุว่ามีบทบาทสำคัญที่สุดในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็ก
References
ขนิษฐา บุนนาค. (2562). ทักษะพื้นฐาน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. Retrieved on November 15, 2022, from https://anyflip.com/ohqky/ojkl/basic
มยุรีย์ เขียวฉะอ้อน. (2541). การประเมินความต้องการจำเป็นด้านทักษะพื้นฐานของครูอนุบาลโดยใช้การวิเคราะห์งาน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การวัดและประเมินผลการศึกษา) : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชกิจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: ราชกิจานเบกษา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย. Retrieved on November 15, 2022, from https://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/Math-framework-for-ECE.pdf.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : บริษัท โกโกพริ้นท์(ไทยแลนด์) จำกัด.
สุวิมล ว่องวาณิช (2542). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจาเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Piaget, J., & Inhelder, B. (1969). The Psychology of the Child. Basic Books, New York.
Vygotsky, L.S. (1995). Fantasi och kreativitet i barndomen [Imagination and Creativity in Childhood]. Goteborg: Daidalos.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Jarinee Wongnark , Oraphan Butkatunyoo, Chalatip Samahito

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ